ผลของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล
Keywords:
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์, ศิลปะแบบบูรณาการ, ความสามารถทางคณิตศาสตร์, MATHEMATICAL EXPERIENCES, ARTS INTEGRATION, MATHEMATICAL ABILITY, KINDERGARTENERSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแบบรูป ด้านเวลา และด้านเรขาคณิต
2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการ และการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์แบบปกติที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล
ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดแคนอก และโรงเรียนวัดบางรักน้อย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 54 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 27 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 27 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายชั้น กลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยใช้ศิลปะแบบบูรณาการ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์แบบปกติ ใช้ระยะเวลาในเก็บรวบรวมข้อมูล 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์ ด้านแบบรูป ด้านเวลา และด้านเรขาคณิต สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์ ด้านแบบรูป
ด้านเวลา และด้านเรขาคณิต สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of the research were to: 1) study the effects of organizing mathematical experiences using arts integration on the mathematical ability of kindergarteners according to three aspects: pattern, time and geometry of experimental group; 2) study the effects of organizing mathematical experiences using arts integration on the mathematical ability between the experimental group and control group.
The sample comprised 54 kindergarteners aged five to six years old at Watkaenork school and Watbangraknoy school. The sample was divided into two groups: 27 children for the experimental group and 27 children for the control group. The experimental group used the organizing mathematical experiences using arts integration; whereas, the control group used conventional organizing mathematical experiences. The research duration was 10 weeks. The data was collected through the testing of mathematical ability of kindergarteners. The data from the test of mathematical ability of kindergarteners was statistically analyzed using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1. After the experiment, the experimental group had higher mean scores in mathematical ability in terms of pattern, time and geometry than those before at a .01 level of significance. 2. After the experiment, the experimental group had higher mean scores in mathematical ability in terms of pattern, time and geometry than those in the control group at a .01 level of significance.