อิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Authors

  • นิภารัตน์ รูปไข่
  • รศ.ดร.วรรณี แกมเกตุ

Keywords:

ความสามารถในการฟื้นพลัง/ความกดดันทางวิชาการ, แรงจูงใจในการเรียน, ตัวแปรส่งผ่าน, RESILIENCE, ACADEMIC PRESSURE, ACADEMIC MOTIVATION, MEDIATOR

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ (causal research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน ตัวอย่างวิจัยคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 832 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .782 ถึง .903 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)

ผลการวิจัยพบว่าโมเดลอิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่านที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
(Chi-square = 28.519, df = 23, p = 0.197, GFI = 0.995, AGFI = 0.980, RMR = 0.014, RMSEA = 0.017) โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจในการเรียนได้ร้อยละ 18.9 และ 53.7 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงบทบาทการส่งผ่านของแรงจูงใจในการเรียนพบว่ามีบทบาทเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วน (partial mediator) โดยความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (DE = .116, -.218 ตามลำดับ) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการผ่านแรงจูงใจในการเรียน (DE = .163, -.046 ตามลำดับ) ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

This research was a causal research. The purposes of this research were to develop and examine the goodness of fit of resilience and academic pressure on achievement with academic motivation as a mediator model’s effect. The research sample consisted of 832 secondary school students selected by multi-stage random sampling method. Data were collected through survey questionnaire. Descriptive analysis and SEM (Structural Equation Model) by LISREL were used for the data analysis.

The results revealed that the model’s effects of resilience and academic pressure on academic achievement with academic motivation as a mediator fitted the empirical data (Chi-square = 28.519,
df = 23, p = 0.197, GFI = 0.995, AGFI = 0.980, RMR = 0.014, RMSEA = 0.017) The variables in model explained 18.9% and 53.7% of variance of academic achievement and academic motivation respectively. The role of academic motivation as mediator in this model was partial mediator. Resilience and academic pressure directly influenced academic achievement (b = .116, -.218, respectively) and academic achievement had a significant indirect effect via academic motivation (b = .163, -.046, respectively). All effects were significant at p<.05.

 

Downloads

How to Cite

รูปไข่ น., & แกมเกตุ ร. (2015). อิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน. An Online Journal of Education, 10(4), 294–308. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37461