การศึกษาวิธีการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเองในการฝึกทักษะนาฏศิลป์

Authors

  • นาทนภา ตรีอุบล
  • รศ.ดร.วรรณี แกมเกตุ

Keywords:

การฝึกฝนตนเอง, นิสัยฝึกฝน, การฝึกฝนทักษะนาฏศิลป์, SELF-PRACTICE, PRACTICING HABIT, DANCING PRACTICE

Abstract

          การศึกษาวิธีการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเองในการฝึกทักษะนาฏศิลป์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการของนักเรียนในการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเอง และวิธีการของครูในการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเอง    ของนักเรียน ด้วยการสัมภาษณ์นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สาขาโขนและละคร วิทยาลัยนาฏศิลป ที่มีพฤติกรรม      การฝึกฝนทักษะปฏิบัติจากบทเรียนเพิ่มเติมนอกเวลา จำนวน 18 คน และสัมภาษณ์ครูประจำวิชาเอก สาขาโขนและละคร           วิทยาลัยนาฏศิลป จำนวน 10 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง        และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า วิธีการของนักเรียนในการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเอง ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายของการฝึกซ้อม การเปรียบเทียบกับเพื่อนคนอื่น และการให้บุคคลอื่นมีส่วนช่วยในการฝึกซ้อม วิธีการของครูในการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเองของนักเรียน ประกอบด้วย การให้ความช่วยเหลือในการฝึกซ้อม การกำหนดเป้าหมายของการฝึกซ้อม การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียน การกำหนดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม  การหาตัวช่วยในการฝึกซ้อม         และการเสริมแรง

This study on the formation of self-practice habits for dancing practice is a qualitative research with the following purposes: (1) to investigate how students form their self-practice habit, and (2) to investigate how teachers assist students in the habit formation. By interviewing 18 secondary school students from the College of Dramatic Arts in the field of khon (a type of Thai drama) and drama, who demonstrated their behaviour of practicing the dancing skill beyond the classroom, and 10 teachers teaching the major subject of khon and drama from the College of Dramatic Arts. The data collection tool used in this study was the unstructured interview and the data was analysed using the content analysis approach.

From the study, it was revealed that the methods the students used for forming self-practice habits were setting the practice targets, comparing self-progress with others, and requesting others for assistance, and the methods the teachers used for assisting the students to form the habits were providing practice supports, determining the practice targets, creating positive attitudes towards learning, defining appropriate teaching techniques, searching for practice-assisting tools, and positive reinforcement.

Downloads

How to Cite

ตรีอุบล น., & แกมเกตุ ร. (2015). การศึกษาวิธีการเสริมสร้างนิสัยฝึกฝนตนเองในการฝึกทักษะนาฏศิลป์. An Online Journal of Education, 10(4), 365–377. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37464