การวิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศในประเทศไทย ตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ

Authors

  • เกษศิริ กมล
  • ผศ.ดร.ชญาพิมพ์ อุสาโห

Keywords:

รางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคอล์ม บอลดริจ, องค์ประกอบ 7 ด้าน, โรงเรียนเอกชน, การดำเนินการที่เป็นเลิศ, MALCOM BALDRIGE NATIONAL QUALITY AWARD CRITERIA, 7 CATEGORIES, PRIVATE SCHOOL, PERFORMANCE EXCELLENCE

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศในประเทศไทย ตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ 2) ประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 ด้าน แบ่งออกเป็นองค์ประกอบด้านกระบวนการ 6 ด้าน ได้แก่ (1) การนำองค์การ (2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (3) การมุ่งเน้นนักเรียนและผู้ปกครอง        (4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้  (5) การมุ่งเน้นบุคลากรครู  (6) การมุ่งเน้นการดำเนินการ  และองค์ประกอบด้านผลลัพธ์ 1 ด้าน คือ (7) ผลลัพธ์  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่ได้รับผลการประเมินจาก สมศ. ครั้งที่ 2 ระดับดีมากทุกมาตรฐาน และโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่ได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน จำนวน 124 โรงเรียน มีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คนได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 372 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ และมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศในประเทศไทย ตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ ด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การนำองค์การ รองลงมาคือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้  2) ผลที่ได้จากการประเมินด้านผลลัพธ์จากการดำเนินการที่เป็นเลิศ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ และการปกครอง  รองลงมาคือ ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของนักเรียน และกระบวนการทำงาน  องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นนักเรียนและผู้ปกครอง

The purposes of the research were 1) to analyze the educational administration of excellent private schools in Thailand based on the Malcom Baldrige National Quality Award criteria for performance excellence, and 2) to evaluate the results from the National Quality Award criteria toward Thailand’s excellent private schools. There are 7 categories in the structure. The performance system consists of six categories: 1) leadership, 2) strategic planning, 3) customer focus, 4) measurement, analysis and knowledge management, 5) workforce focus, and 6) operations focus. The population consisted of 124 schools: (1) the private primary schools which have achieved excellent scores in all standards by the second evaluation of the Office for National Education Standards and Quality Assessment, and (2) the private schools which have won the School Royal Award at the primary level.  The researcher collected data questionnaires from 372 people which gathered information from directors, deputy directors and teachers. The analysis used statistics from frequency, percentage, mean and standard deviation.

                According to the research result, there were two main findings: 1) the management of excellent private schools based on the Malcom Baldrige criteria for performance excellence showed that the highest average was leadership, the second highest was strategic planning, and the least average is measurement analysis and knowledge management. 2) The highest average in the evaluation of the results categories toward the management are leadership and governance results. The second highest is student learning and process results. The least average is budgetary, financial and market results.

Downloads

How to Cite

กมล เ., & อุสาโห ผ. (2014). การวิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศในประเทศไทย ตามเกณฑ์มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มัลคอล์ม บอลดริจ. An Online Journal of Education, 9(3), 84–97. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37561