พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน: กรณีศึกษาผู้บริหารโรงเรียนราชวินิต

Authors

  • สาธิตา เสมอชีพ
  • ผศ.ดร. ปองสิน วิเศษศิริ

Keywords:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารโรงเรียน, กรณีศึกษา, โรงเรียนราชวินิต, TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP, ADMINISTRATOR, CASE STUDY, RACHAWINIT SCHOOL

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน: กรณีศึกษาผู้บริหารโรงเรียนราชวินิต  โดยใช้กรอบการวิจัยพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของ Bass and Avolio ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิต ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูโรงเรียนราชวินิตที่ปฏิบัติงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนรายนี้มาแล้วตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งทั้งโรงเรียนมีจำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่

ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมผู้อำนวยการมีพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรวมทุกองค์ประกอบพฤติกรรมเฉพาะอยู่ในระดับมาก โดยมีพฤติกรรมด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และสุดท้ายคือด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล

The  objective  of  this  research  study  was  to  study  the  transformational  leadership behaviors of  a school administrator: a case study of Rachawinit  School administratorS.  Bass  and  Avolio's  concept  of  transformational  leadership  behaviors was  used  as  the  framework  of  this  research.  The sample  consisted  of 106 teachers.  A five-point  Likert  scale  questionnaire  was  used  to  collect  the  data. The data were analyzed by percentage, mean  and         standard deviation. 

            The  study  results  show that the  level  of transformational  leadership  behaviors  of a school administrator: a case study of Rachawinit  School administrators  was  at a high level.  The  sub-scales  of  transformational  leadership  behaviors  of  administrators showed that  the  idealized  influence of charismatic leadership  was  at the  highest level.  Inspiration and  motivation  were at  the  second  level. Intellectual  stimulation  was  the  third  level.  Individualized  consideration  was  the  lowest  level. 

Downloads

How to Cite

เสมอชีพ ส., & วิเศษศิริ ผ. ป. (2014). พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน: กรณีศึกษาผู้บริหารโรงเรียนราชวินิต. An Online Journal of Education, 9(3), 639–651. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37568