การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5

Authors

  • ประภาภัทร์ แสงทอง
  • รศ .เอกชัย กี่สุขพันธ์

Keywords:

การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนมัธยมศึกษา, การบริหาร, ACADEMIC AFFAIRS, SECONDARY SCHOOL, ADMINISTRATION

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5  จำนวน 5 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 55 คน ครูผู้ปฏิบัติการสอนจำนวน 229 คน รวมทั้งสิ้น 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  จำนวน 284 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ

                ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนงานด้านวิชาการ คณะกรรมการประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่มสาระมากที่สุด  ผู้อนุมัติ คือ ผู้อำนวยการ มีการวางแผนงานโดยกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย มีการเผยแพร่ในที่ประชุมครู มีวิธีการตรวจสอบและประเมินผลโดยรายงานตามสายการบังคับบัญชามากที่สุด 2) การบริหารและพัฒนาหลักสูตร กรรมการคือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการมากที่สุด ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อวางแผนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ปรับปรุงพัฒนาด้วยการนำผล O-NET มาเป็นแนวทางมากที่สุด 3) การจัดการเรียนการสอน จัดครูรับผิดชอบงานสอนตามวุฒิการศึกษา กำหนดการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ จัดวิชาเปิดสอนตามโครงสร้างหลักสูตร  จัดทำแผนการสอนโดยผู้ปฏิบัติการสอนในระดับชั้นและกลุ่มสาระเดียวกัน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติโดยการนิเทศการสอน สอนซ่อมเสริมโดยประเมินผลสัมฤทธิ์ของการสอบกลางเทอมมากที่สุด 4) การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาครู ครูเป็นผู้รับการนิเทศ โดยโรงเรียนจัดให้มีการประชุม อบรม สัมมนาก่อนเปิดภาคเรียน ผู้นิเทศครู คือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มากที่สุด 5) การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พัฒนาให้มีความหลากหลายโดยครู ใช้วิธีการประเมินผลจากความเข้าใจในเนื้อหาของผู้เรียน มากที่สุด 6) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดตามนโยบายของโรงเรียน และมีการประเมินผลหลังทำกิจกรรมมากที่สุด 7) การแนะแนว มีห้องแนะแนว และติดตามประเมินผลการแนะแนวด้วยแบบสอบถามมากที่สุด 8) การร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น มีการประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนและร่วมมือกับกลุ่มโรงเรียนที่สังกัดอยู่มากที่สุด 9) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ส่งเสริมการทำวิจัย ให้การวิจัยในชั้นเรียนเป็นนโยบายที่สำคัญ และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้มากที่สุด 10) การวัดและประเมินผลงานวิชาการ วัดผลประเมินผลจากสภาพจริง และนำผลที่ได้ไปใช้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครูมากที่สุด

The purpose of this research was to study the administration of academic affairs of 5 secondary schools in the secondary educational service area office 5.  Population consisted of  55 administrators, 229 instructors, totally 284.  The research instrument was a set of questionnaires.  Percentage and frequency were used as data analysis.  The research findings were as follows. 1) Academic planning, academic committees consisted of a head department approval by director, and monitoring and evaluation by chain of command format at the highest level. 2) Administration and curriculum development, schools designed appropriate lesson plans based on O-NET testing result at the highest level. 3) Instructional management, it was related to learning objectives based on the instructional plans at the highest level.  4) Educational supervision for teacher development, schools provided the internal supervisor activities for teachers at the highest level.  5) The application of educational media and technology, a variety of media and technology were developed suitably and sufficiently at the highest level. 6) Arrangement of extra-curricular activities, these were promoted by managing and assessing the activities of school policies and evaluation after activities at the highest level. 7) Counseling, schools provided guidance room for students and assessed by questionnaires. 

8) Partnerships with others, schools coordinated with communities and related agency at the highest level.  9) Research and development of academic affair quality, schools supported teachers to conduct researches to develop learning process at the highest level.  10) Assessment and evaluation of academic works, Schools applied authentic assessment as the instrument to improve teachers’ instructional management at the highest level.

Downloads

How to Cite

แสงทอง ป., & กี่สุขพันธ์ ร. .เอกชัย. (2014). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. An Online Journal of Education, 9(3), 679–692. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37571