กลยุทธ์การบริหารการเรียนร่วม ของโรงเรียนแกนนาจัดการเรียนร่วม ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร
Keywords:
กลยุทธ์, การเรียนร่วม, โรงเรียนแกนนาจัดการเรียนร่วม, STRETEGIES, MAINSTREAMING, LEAD MAINSTREAMING SCHOOLSAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจาเป็น วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และพัฒนากลยุทธ์การบริหารการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนาจัดการเรียนร่วม ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร โดยมีประชากรเป็นโรงเรียนแกนนาจัดการเรียนร่วม จานวน 4 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างของผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูและครูการศึกษาพิเศษ จานวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อนามาจัดทากลยุทธ์การบริหารการเรียนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนาจัดการเรียนร่วม ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานครในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลาดับความต้องการจาเป็นด้วยดัชนี PNImodified ได้เป็น 1) ด้านการวางแผน 2)ด้านการนาแผนไปปฏิบัติ และ 3)ด้านการวัดและประเมินผล โดยมีด้านที่เป็นจุดแข็งหรือโอกาส คือ การวัดและประเมินผล และด้านที่เป็นจุดอ่อนหรือภาวะคุกคาม คือ ด้านการวางแผน และการนาแผนไปปฏิบัติ สาหรับกลยุทธ์การบริหารการเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนาจัดการเรียนร่วม ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์ และ วิธีดาเนินการ 24 วิธีดาเนินการ
The purposes of this study were to 1) study the current and expected state of the mainstreaming management strategies of lead mainstreaming school under the secondary educational service area office 2, Bangkok and 2) rank the needs assessment in mainstreaming management strategies of lead mainstreaming school under the secondary educational service area office 2, Bangkok. The subjects included in the study were administrators , teacher and special education teachers totaling 112. A questionnaire was used to collect data. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation and the modified Priority Needs Index (PNI Modified ) to prioritize and rank the needs
The study found that, in general, The needs assessment offered rankings from the highest to the lowest priorities: 1) Planning (0.46) 2) Implement (0.40) 3) Evaluation (0.30)
And consist of 3 strategies, 12 sub-strategy ,24 operation