การพัฒนาแบบวัดการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนไทย
Keywords:
การปฏิบัติงานของครู, TEACHERS’ PRACTICESAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการปฏิบัติงาน ของครู ซึ่งกำหนดตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยไว้เป็นครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาใน 4 สังกัด ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการปฏิบัติงานของครู จำนวน 55 ข้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลจากการวิจัย พบว่า แบบวัดการปฏิบัติงานของครูที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) การจัดการเรียนการสอน จำนวน 25 ข้อ ประกอบด้วย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียน การวัดและประเมินผล การวิจัยในชั้นเรียน การใช้สื่อ/นวัตกรรมและสารสนเทศ 2) การพัฒนาตนเอง จำนวน 10 ข้อ ประกอบด้วย การแสวงหาความรู้ การพัฒนาทักษะและความชำนาญ และ 3) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ผู้ปกครอง เพื่อนครูและชุมชน คุณภาพของแบบวัดมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60–1.00 และมีค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง 0.704 – 0.914 แสดงว่าข้อคำถามที่สร้างขึ้นมีคุณภาพเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานของครูได้ ซึ่งผู้วิจัยจะได้นำแบบวัดที่สร้างขึ้นไปใช้ในการดำเนินการวิจัยในระยะต่อไป
The research objectives of this study were to develop and verify the quality of teachers’ practices. The sample consisted of 55 teachers in four different offices: Office of the Basic Education Commission (OBEC), Office of the Private Education Commission (OPEC), Office of the Higher Education Commission (OHEC), and Bangkok Metropolitan Administration (BMA) in Bangkok. The research instrument was teachers’ practice questionnaire, 55 items, 5-point rating scale. The data of this research were analyzed by descriptive statistics. The quality of teachers’ practices verify by Cronbach's alpha coefficient by computer’s program.
The results showed that the teachers’ practices were divided into three aspects: 1) instruction (25 items), comprising of learning experience planning, classroom management, measurement and evaluation, classroom action research, and teaching materials usage; 2) self-development (10 items), including knowledge acquisition and competence development; and 3) social interaction (20 items), which was the interaction between learners, parents, colleagues and community. The IOC index of the questionnaire ranged between 0.60-1.00 and the Cronbach's alpha ranged between 0.704 - 0.914. They indicated that the questionnaire was appropriate to collect quantitative data. The researcher employed the questionnaire to conduct the research in the following phase of the study.