การประเมินความต้องการจำเป็นของผู้ดูแลเด็ก ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะในสถานรับเลี้ยงเด็ก
Keywords:
การอบรมเลี้ยงดูเด็ก / ผู้ดูแลเด็ก / สถานรับเลี้ยงเด็ก/ EDUCARING / CAREGIVER / CHILD CARE CENTERAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของผู้ดูแลเด็กวัยทารก
และผู้ดูแลเด็กวัยเตาะแตะในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
ของผู้ดูแลเด็กวัยทารกและผู้ดูแลเด็กวัยเตาะแตะในสถานรับเลี้ยงเด็ก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กวัยทารกและผู้ดูแลเด็ก
วัยเตาะแตะ ในสถานรับเลี้ยงเด็ก จำนวน 496 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามผู้ดูแลเด็กวัยทารก แบบสอบถามผู้ดูแลเด็กวัยเตาะแตะ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานรับเลี้ยงเด็ก และแนวคำถามการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ดูแลเด็กวัยทารกมีความต้องการจำเป็นในการอบรมเลี้ยงดูเด็กมากที่สุด คือ
การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง การวางแผนการจัดกิจกรรม และการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม ตามลำดับ
2) ผู้ดูแลเด็กวัยเตาะแตะมีความต้องการจำเป็นในการการอบรมเลี้ยงดูเด็กมากที่สุด คือ การจัดกิจกรรมเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การวางแผนการจัดกิจกรรม การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง และการจัดสื่อและอุปกรณ์
3) แนวทางพัฒนาที่ผู้ดูแลเด็กวัยทารกต้องการมากที่สุด คือประเด็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับวัย โดยใช้วิธีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาแนะนำการอบรมเลี้ยงดู จากครูหรือผู้ดูแลเด็กที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก 4) แนวทางการพัฒนาผู้ดูแลเด็กวัยเตาะแตะต้องการมากที่สุด คือ
ประเด็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับวัย โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการ จากครูหรือผู้ดูแลเด็กที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
The objectives of this research were 1) to study the needs assessment of caregivers’ educaring infant and toddler in child care center 2) to propose approaches to develop caregivers’ educaring infant and toddler in child care center. The participants were 496 infant caregivers’ and toddler caregivers’. Research instruments used for gathering data were; a questionnaire for infant caregivers’ and toddler caregivers’; an interview for child care center administrators’, and focus group technique. The data were analysis using frequency, percentage standard deviation, content analysis and setting priority in terms of needs using Modified Priority Needs Index.
The research findings were summarized as follows; 1) The most needs of educaring infant caregivers’ in three aspects; 1) establishing relationships with families 2) planning activities, and 3) social environmental management 2) The most needs of educaring toddler caregivers’ in three aspects;
1) activities of development and learning arrangement 2) planning activities, and 3) establishing relationships with families 3) The most important approach to improve of educaring infant caregivers’
is organizing variety of learning activities base on age, via get experts of educaring to advice caregiver in child care center 4) The most important approach to improve of educaring toddler caregivers’
is organizing variety of learning activities base on age, via workshop from experts of educaring to assist caregiverin child care center