ผลการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นโดยประยุกต์ใช้โมเดลเลิฟที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อชุมชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาวิชาเพชรบุรีศึกษา
Keywords:
การประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนรู้ “ความรัก” (Love Model)/ วิชาเพชรบุรีศึกษา/ ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ/ เจตคติต่อชุมชนท้องถิ่น/ APPLYING THE LOVE MODEL/ PHETCHABURI STUDIES SUBJECT/ CRITICLE THINKING-ABILIAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนวิชาเพชรบุรีศึกษาโดยประยุกต์ใช้โมเดลเลิฟ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อชุมชนท้องถิ่นของผู้เรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนวิชาเพชรบุรีศึกษาโดยประยุกต์ใช้โมเดลเลิฟ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี ที่เรียนวิชาเพชรบุรีศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดเจตคติต่อชุมชนท้องถิ่น และแบบสัมภาษณ์ โดยนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การทดสอบคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 2) การทดสอบคะแนนเจตคติต่อชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
The purposes of this research were: 1) To compare the abilities of critical thinking of students before and after studies Phetchaburi studies subject by applying the Love Model. and 2) To compare students attitudes towards local community before and after studies Phetchaburi studies subject by applying the Love Model. The samples were 7 grade students at Phrommanusorn Phetchaburi School, totally 27 in first semester academic year B.E. 2557. The research instruments were critical thinking test, attitudes test towards local community, and interview from and the collected data were analyze by mean, standard deviation, t-test, and content analysis.
The results of the research were: 1) The posttest of critical thinking abilities of the students were higher than pretest 2) The posttest attitude of students towards local community were higher than pretest