ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • สาวิตรี มูลสุวรรณ
  • ศันสนีย์ เณรเทียน

Keywords:

กลวิธีเอฟโอพีเอส/การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์/การใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์/ FOPS STRATEGY/MATHEMATICAL REASONING /MATHEMATICAL REPRESENTATION

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพี่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส ก่อนและหลังเรียน และ 2) เพี่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนเจริญศิลป์ “โพธิ์คำอนุสรณ์” จำนวน 77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูลประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน และแบบวัดการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ ฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน ซึ่งผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติเอฟ (F-Test) และค่าสถิติ ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอสสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      The purposes of this research were to: 1) compare mathematical reasoning ability and mathematical representation of students between before and after being taught by organizing mathematics learning activity using FOPS strategy, and 2) compare mathematical reasoning ability and mathematical representation of students between group being taught by organizing mathematics learning activity using FOPS strategy with those of students being taught by conventional approach. The samples were 77 eighth grade students of Charoensinsuksa Phokham's Memorial School in first semester of the 2014 academic year. The instruments for data collection were pretest and posttest for mathematical reasoning ability, and pretest and posttests for mathematical representation. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, F-test, and ANCOVA. The results of the study revealed that: 1) mathematical reasoning ability and mathematical representation of students after being taught by organizing mathematics learning activity using FOPS strategy was higher than those before Instruction at 0.05 level of significance, and 2) mathematical reasoning ability and mathematical representation of students being taught by organizing mathematics learning activity using FOPS strategy was higher than those of students being taught by conventional approach at 0.05 level of significance.

Downloads

How to Cite

มูลสุวรรณ ส., & เณรเทียน ศ. (2015). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีเอฟโอพีเอส ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และการใช้ตัวแทนความคิดทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. An Online Journal of Education, 10(1), 175–188. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40485