ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและ ห้องเรียนเครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Authors

  • พิชญา ดำนิล
  • นันทรัตน์ เจริญกุล

Keywords:

ภาวะผู้นำศตวรรษที่ 21/ คณะศิลปศึกษา/ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์/ Leadership in the 21th Century/ Faculty of Art Education/ Bunditpatasilpa Institute

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียนเครือข่าย 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียนเครือข่าย และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียนเครือข่าย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ ผู้บริหาร จำนวน 11 คนและผู้สอนจำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ และการทดสอบค่าที

   ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์และกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา รองลงมาคือ เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าพบได้เสมอ เพื่อให้คำปรึกษา และผู้บริหารมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อหน่วยงาน และหน้าที่ที่รับผิดชอบ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหาร พบว่า ภาพรวมผู้บริหารและผู้สอนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียนเครือข่ายพบว่า มีแนวทางทั้งหมด 15 แนวทาง  

   The purposes of this research were to 1) study Leadership in the 21th Century of administrators in the Faculty of Art Education and Network Campus, 2) compare leadership in the 21th Century of administrators in the Faculty of Art Education and Network Campus, and 3) propose guidelines for developing Leadership in the 21th Century of administrators in the Faculty of Art Education and Network Campus. The sample consisted of 2 groups: 11 administrators and 249 lecturers. The instrument for this research was five-point rating scaled questionnaire. The statistics used were frequency, percentage, mean and t-test.

   The research results found that: 1) Leadership in the 21th Century of Administrators, as estimated overall, was rated high. Considering each aspect, the highest average fell on administrators paying attention for planning, defining vision, mission, policies, goals, objectives, and academic strategies in schools. Secondly, to give opportunity to subordinates to meet and get advice and being faithful, loyal, and responsible to schools. 2) While comparing the ideas of administrators and lecturers, overall, the administrators and lecturers had different opinions at the significant level of 0.05. 3) Guidelines for developing Leadership in the 21th Century of Administrators in the Faculty of Art Education and Network Campus had 15 aspects.

Downloads

How to Cite

ดำนิล พ., & เจริญกุล น. (2015). ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและ ห้องเรียนเครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. An Online Journal of Education, 10(1), 240–248. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40490