การพัฒนาเครื่องมือวัดการควบคุมความคิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • พัชรา กระแจะเจิม
  • วรรณี แกมเกตุ

Keywords:

การควบคุมความคิด เครื่องมือ นักเรียน/ COGNITIVE CONTROL SCALE STUDENT

Abstract

   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) สังเคราะห์องค์ประกอบของการควบคุมความคิด 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดการควบคุมความคิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แหล่งข้อมูลในการสังเคราะห์องค์ประกอบของการควบคุมความคิดศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี รวมทั้งเอกสารและงานวิจัยจำนวน 8 เรื่อง จากนั้นพัฒนาเป็นแบบวัดการควบคุมความคิดและนำไปตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดด้านความตรงเชิงเนื้อหากับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในและค่าอำนาจจำแนกโดยเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียนจำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค

   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การควบคุมความคิดประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การหักห้ามใจต่อสิ่งยั่วยุ การเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า และการยืดหยุ่นความคิด 2) เครื่องมือวัดการควบคุมความคิดมีลักษณะเป็นมาตรประเมินรวมค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ และ 3) เครื่องมือวัดการควบคุมความคิดมีความตรงเชิงเนื้อหาในระดับที่เหมาะสม (IOC อยู่ระหว่าง 0.500 – 1.000) ข้อคำถามของเครื่องมือวัดการควบคุมความคิดในแต่ละองค์ประกอบมีความสอดคล้องและสามารถวัดได้ในคุณลักษณะเดียวกัน (Cronbrach อยู่ระหว่าง 0.629 – 0.712) และมีค่าอำนาจจำแนกในระดับที่เหมาะสม

   This research aimed: (1) to synthesize components of cognitive control, (2) to develop and validate the cognitive control instrument of junior high school students. Eight theoretical and literature reviews were used to synthesize, and develop the instrument of cognitive control. The content validity (indices of item objective congruence: IOC) was examined by four experts. The internal consistency reliabilities (Cronbach's a coefficients), and discrimination indices (item-total correlations: ITC) were investigated by forty-five junior high school students.

   It was found that (1) based on a theoretical and literature review, the instrument of cognitive control consists of three components included inhibition, updating, and cognitive flexibility. (2) The instrument of cognitive control was developed with 20 items. (3) The instrument had content validity (IOC ranged from 0.500 to 1.000), suitable discrimination indices (ITC range from 0.338 to 0.725), and appropriate internal consistency reliabilities (Cronbach's a coefficients range from 0.629 to 0.712).

Downloads

How to Cite

กระแจะเจิม พ., & แกมเกตุ ว. (2015). การพัฒนาเครื่องมือวัดการควบคุมความคิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. An Online Journal of Education, 10(1), 249–261. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40491