การวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเวลาของครู: การวิจัยแบบผสมวิธี

Authors

  • เมธ์วดี กาญจนสรวง
  • ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ

Keywords:

การจัดการเวลาครู/ การปฏิบัติงานครู/ TIME MANAGEMENT/ PERFORMANCE OF TEACHERS

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับการจัดการเวลาของครูเมื่อจำแนกตามภูมิหลัง (2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเวลาของครู และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเวลาของครู ดำเนินการวิจัยแบบผสมวิธี รูปแบบ explanatory sequential design (quan®QUAL) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 304 ฉบับจากตัวอย่างครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 17 โรงเรียน แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ในช่วง 0.60 - 1.00 และค่าความเที่ยงในช่วง 0.716 - 0.920 ขั้นตอนที่สองศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำผลการศึกษาจากข้อมูลเชิงปริมาณตอนที่ 1 มาพิจารณาคัดเลือกตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีการจัดการเวลาระดับต่ำที่สุดและสูงที่สุด ระดับละ 12 คน รวม 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแบบสถิติบรรยาย และความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

   ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้  1) ครูมีการจัดการเวลาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.449, SD = 0.420) และเมื่อพิจารณาภูมิหลัง พบว่า ระดับการจัดการเวลาของครูแตกต่างกันตามอายุและประสบการณ์การทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) สภาพปัญหาการจัดการเวลาของครู แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาจากตนเอง  ปัญหาจากบุคคลอื่น และปัจจัยจากสภาพแวดล้อม และ 3) แนวทางการจัดการเวลาของครูแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การวางแผนและกำหนดเป้าหมาย  การลำดับความสำคัญของงาน การควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเวลา และแนวคิดบวกในการทำงาน

      The purpose of this research were (1) to study and to compare the time management of teachers from different backgrounds, (2) to study problems of time management of teachers, and (3) to present guidelines of time management of teachers. In the present study; explanatory sequential (quan®QUAL) instrument mixed method research design involved 2 phases. The first was to conduct quantitative data analysis by collecting 304 questionnaires from 17 schools in Bangkok. The content validity was during 0.6 – 1.0 and reliability was during 0.716 - 0.920. The second was to conduct qualitative data analysis by selecting those in the first step to interview; which was divided into a high level and low level (12 teachers in each level) The data were analyzed by descriptive statistics, one-way ANOVA and content analysis.

   The research finding were as follows: 1) The time management efficiency of teachers are medium ( = 3.449 , SD = 0.420) and consider background. Time management of teacher level were difference among age and experience of work, at a statistical difference of .05 2) Problems of time management of teachers were divided into 3 dimensions; personal problems, The others ‘s problems  and environmental problems 3) Guidelines of time management of teachers were divided into 4 dimensions; planning and goal setting, work prioritization, control work my process to be punctual and positive thinking in work.

Downloads

How to Cite

กาญจนสรวง เ., & ไตรวิจิตรคุณ ด. (2015). การวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเวลาของครู: การวิจัยแบบผสมวิธี. An Online Journal of Education, 10(1), 274–288. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40493