การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู

Authors

  • ชนิกามาศ จันทร์เจริญสุข
  • อวยพร เรืองตระกูล

Keywords:

มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน / การวิจัยในชั้นเรียน/ MISCONCEPTIONS / CLASSROOM ACTION RESEARCH

Abstract

   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดมโนทัศน์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ผู้วิจัยศึกษาองค์ประกอบของมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู จำนวน 5 ท่าน จากนั้นพัฒนาเป็นเครื่องมือวัดมโนทัศน์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูซึ่งประกอบด้วยแบบตรวจสอบรายการด้านความเชื่อและความเข้าใจ (self-checklist) และแบบทดสอบวินิจฉัยเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน (diagnostic test) แล้วนำไปตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในและค่าความยาก อำนาจจำแนก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์กับครูที่กลุ่มเป็นตัวอย่าง จำนวน 54 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา

   ผลการวิจัย พบว่า 1) มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ (1) ด้านการกำหนดประเด็นปัญหาวิจัย (2) ด้านรูปแบบการทำวิจัย (3) ด้านระเบียบวิธีวิจัย และ (4) ด้านการสะท้อนคิดจากผลการวิจัย 2) ชุดเครื่องมือวัดมโนทัศน์ในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาเหมาะสม (มีค่าดัชนีIOC อยู่ระหว่าง 0.600 – 1.000) แบบตรวจสอบรายการด้านความเชื่อและความเข้าใจมีความเที่ยง 0.856 และแบบทดสอบวินิจฉัยด้านความรู้ มีค่าความเที่ยง 0.763 ค่าความยาก 0.233-0.733 และอำนาจจำแนก 0.333 – 0.800

   This research aimed: 1) to study components of teachers’ misconceptions in classroom action research and 2) to develop the set of diagnostic instruments. The literature reviews and interviews were used with 5 experts to determine and develop the set of diagnostic instruments for misconceptions on classroom action research. The set of diagnostic instruments were consisted of diagnostic checklist and diagnostic test. The content validity (indices of item objective congruence: IOC) was examined. The internal consistency reliabilities (Cronbach's a coefficients), and discrimination indices (item-total correlations: ITC) were investigated by fifty-four teachers via online survey.

   The research results can be concluded as follows: 1) The teachers’ misconceptions in classroom action research were consists of four components included defining research issues, research forms, research methodology and research reflection. 2) The set of diagnostic instruments for teachers’ misconceptions in classroom action research had content validity (IOC ranged from 0.600 to 1.000). The reliability of two diagnostic checklists and diagnostic test were 0.856 and 0.763. Furthermore, the knowledge diagnostic test had suitable discrimination indices (ITC range from 0.333 to 0.800), and appropriate difficulty.

Downloads

How to Cite

จันทร์เจริญสุข ช., & เรืองตระกูล อ. (2015). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู. An Online Journal of Education, 10(1), 289–303. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40494