การวิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ของนักเรียนและแนวการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิจัยแบบผสมวิธี
Keywords:
วิธีการเรียนรู้/ แนวการสอน/ วิทยาศาสตร์/ APPROACHES TO LEARNING/ TEACHING APPROACHES/ SCIENCEAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบวิธีการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ต่างกันในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จำแนกตามสาระ 2 ) วิเคราะห์และเปรียบเทียบแนวการสอนของครูวิทยาศาสตร์ตามการรับรู้ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ต่างกันในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จำแนกตามสาระ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวการสอนตามการรับรู้ของนักเรียนกับวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จำแนกตามสาระ วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมวิธีประเภทแบบแผนการสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกชนิดข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ใช้สถิติบรรยาย ความถี่และร้อยละ Chi-Square และ Cramer’s V
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุกสาระ โดยภาพรวม ส่วนใหญ่นักเรียนมีวิธีการเรียนรู้แบบที่มีแรงจูงใจและยุทธวิธีระดับผิวเผิน กลุ่มผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้สูงส่วนใหญ่มีวิธีการเรียนรู้แบบที่มีแรงจูงใจและยุทธวิธีระดับลึก กลุ่มผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ปานกลางและต่ำ ส่วนใหญ่มีวิธีการเรียนรู้แบบที่มีแรงจูงใจและยุทธวิธีระดับผิวเผิน 2) ทุกสาระ โดยภาพรวม ส่วนใหญ่นักเรียนรับรู้ต่อแนวการสอนของครูวิทยาศาสตร์แบบยึดครูเป็นศูนย์กลาง กลุ่มผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้สูงและต่ำในสาระเคมี และกลุ่มผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้สูงในสาระฟิสิกส์รับรู้ต่อแนวการสอนแบบยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 3) ทุกสาระ นักเรียนที่รับรู้ต่อแนวการสอนแบบยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ส่วนใหญ่จะมีวิธีการเรียนรู้แบบที่มีแรงจูงใจและยุทธวิธีระดับลึก แต่นักเรียนที่รับรู้ต่อแนวการสอนแบบยึดครูเป็นศูนย์กลาง ส่วนใหญ่จะมีวิธีการเรียนรู้แบบที่มีแรงจูงใจและยุทธวิธีระดับผิวเผิน
The purposes of this research were 1) analyze and compare the approaches to learning in science of students that have different achievement divide by matter. 2) analyze and compare the teaching approaches of the science teacher from students’ perception that have different achievement divide by matter. 3) analyze the relationship between the teaching approaches from students’ perception and the approaches to learning in science divide by matter. The research method was the mixed method research using exploratory design. The research instruments were interviews schedule and questionnaire. Data analysis consisted of content analysis, typological analysis, comparison, analytic induction, descriptive statistics, frequency, percent, Chi-Square and Cramer’s V.
The research findings were as follows 1) All the matter in science, The most approaches to learning of students is the surface motive and strategy approaches. The high achiever group have most the deep motive and strategy approaches, the moderate and low achiever group have most the surface motive and strategy approaches. 2) All the matter in science, The teaching approaches from students’ perception were teacher-centred approaches. 3) The student that perceive the student-centred approaches have the most deep motive and strategy approaches but the student that perceive the teacher-centred approaches have the most surface motive and strategy approaches.