ความแตกต่างในการตระหนักเชิงอภิปริชานของกลวิธีการอ่านของนักศึกษาชั้นปีที่3ระหว่างนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษกับนักศึกษาทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ

Authors

  • จินตวีร์ ผายพิมาย
  • ราเชน มีศรี

Keywords:

การตระหนักเชิงอภิปริชาน/ กลวิธีการอ่าน/ metacognitive awareness, reading strategies METACOGINITIVE AWARENESS/ READING STRATEGIES

Abstract

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความแตกต่างในการตระหนักเชิงอภิปริชานของกลวิธีการอ่านของนักศึกษาชั้นปีที่3ระหว่างนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษจำนวน 30 คน กับนักศึกษาทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษจำนวน 30คน จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นอาสาสมัครในการเข้าร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีทั้งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แบบสอบถามที่ใช้มีชื่อว่า การสำรวจกลวิธีการอ่าน ถูกออกแบบโดย ม็อคห์ทาริและชีโอรีย์ (2002:2) แบบสอบถามมีจำนวนทั้งหมด 30 ข้อ ซึ่งแบ่งกลวิธีการอ่านออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลวิธีการอ่านแบบองค์รวม ประกอบด้วยกลวิธีย่อย 13 กลวิธี กลวิธีการอ่านที่ใช้การแก้ปัญหา ประกอบด้วยกลวิธีย่อยจำนวน 8 กลวิธี และกลวิธีการอ่านที่ใช้การสนับสนุนประกอบด้วยกลวิธีย่อย 9 กลวิธี การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษและนักศึกษาทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษใช้กลวิธีการการบ่อยครั้ง โดยกลวิธีที่นักศึกษาทั้งสองกลุ่มใช้มากที่สุดคือกลวิธีการอ่านที่ใช้การแก้ปัญหา ตามมาด้วยกลวิธีการอ่านแบบองค์รวม ในขณะที่กลวิธีที่นักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มใช้น้อยที่สุดคือ กลวิธีการอ่านที่ใช้การสนับสนุน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละข้อมีความแตกต่างกันระหว่างนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม

   The study was designed to determine 30 third year undergrad students’ metacognitive awareness of reading strategies, English major, the faculty of Education, Burapha University and 30 third year undergrad students’ metacognitive awareness of reading strategies from several majors, the faculty of Education, Burapha University. They were purposively selected based on voluntarily participation. The instrument for this study was the questionnaires, both Thai and English versions. The Survey of Reading Strategies (SORS), developed by Mokhtari and Sheorey (2002), was used. It consisted of 30 items. The SORS measured three board categories of reading strategies, namely global reading strategies, problem solving strategies, and support strategies. The data was analyzed using computer program to apply descriptive statistical procedures. The result indicated that both English major students and non-English major students often used reading strategies. While that problem solving strategies were mostly used followed by global and the least used was supporting strategy. And the details from both groups of participant in each item are different. 

Downloads

How to Cite

ผายพิมาย จ., & มีศรี ร. (2015). ความแตกต่างในการตระหนักเชิงอภิปริชานของกลวิธีการอ่านของนักศึกษาชั้นปีที่3ระหว่างนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษกับนักศึกษาทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ. An Online Journal of Education, 10(1), 344–357. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40499