การศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนสูงสุด 10 อันดับแรกของจังหวัดปทุมธานี

Authors

  • ไพฑูรย์ เอื้อบุญประดิษฐ์
  • นันทรัตน์ เจริญกุล

Keywords:

บทบาทการบริหาร/ การบริหารงานวิชาการ/ ผู้บริหารโรงเรียน/ADMINISTRATIVE ROLE/ ADMINISTRATION OF ACADEMIC AFFAIRS/ SCHOOL ADMINISTRATORS

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงสุด 10 อันดับแรกของจังหวัดปทุมธานี และเปรียบเทียบบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงสุด 10 อันดับแรกของจังหวัดปทุมธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงสุด 10 อันดับแรกของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโดยใช้ค่าสถิติที (t-test)

   ผลการวิจัยพบว่า บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงสุด 10 อันดับแรกของจังหวัดปทุมธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.23, S.D. = 0.57) และรายด้านอยู่ในระดับมากทั้งหมด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา (  = 4.30, S.D. = 0.58) ด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (  = 4.27, S.D. = 0.62) ด้านการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน (  = 4.24, S.D. = 0.60) ด้านการนิเทศการศึกษา (  = 4.21, S.D. = 0.67) และด้านการวางแผนและพัฒนาหลักสูตร (  = 4.15, S.D. = 0.65) เมื่อเปรียบเทียบบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงสุด 10 อันดับแรกของจังหวัดปทุมธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทั้ง 5 ด้าน

   The objectives of this study were to study and compare the role of school administrators in the top ten schools in student achievement of Pathumthani province, according to the opinions of administrators and teachers. The sample population included administrators and teachers, totally 335, who worked for the schools in academic year 2014. The research instrument used in this study was a rating scaled questionnaire. Data were analysed using frequency, percentage, mean and standard deviation.

   The results indicated that the practices on academic administration by school administrators in the top ten schools in student achievement of Pathumthani province, overall, was rated at the high level (  = 4.23, S.D. = 0.57) and were rated at the high level in all aspects, that could be ranked from the highest to the lowest means as follows: measurement and evaluation (  = 4.30, S.D. = 0.58), promotion of using technology for education (  = 4.27, S.D. = 0.62), promotion of teaching and learning activities (  = 4.24, S.D. = 0.60), educational supervision (  = 4.21, S.D. = 0.67) and curriculum planning and development (  = 4.15, S.D. = 0.65). Comparing the opinions of administrators and teachers about the practices on academic administration of school administrators, it was found that administrators and teachers had different ideas on all five aspects at a significant level of 0.05.

Downloads

How to Cite

เอื้อบุญประดิษฐ์ ไ., & เจริญกุล น. (2015). การศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนสูงสุด 10 อันดับแรกของจังหวัดปทุมธานี. An Online Journal of Education, 10(1), 381–393. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40506