การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษและการปฏิบัติจริงในชั้นเรียนตามทฤษฎีการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดภูเก็ต

Authors

  • ดลภัช อัศวธีระ
  • พรพิมล ศุขะวาที

Keywords:

แนวคิด/ ทฤษฏีการการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร/ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยม ศึกษา/ การปฏิบัติจริงในชั้นเรียน/CONCEPTS/ COMMUNICATIVE LANGUAGE TEACHING APPROACH/ HIGH SCHOOL TEACHERS/ APPLICATIONS

Abstract

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดกับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามทฤษฏีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต  2) ศึกษาการปฏิบัติการสอนจริงของผู้สอนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนตามแนวคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฏีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 50 คน รวมทั้งครูจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 คน สำหรับการสัมภาษณ์ในงานวิจัยนี้และทำการสังเกตการปฏิบัติการสอนจริงในชั้นเรียนกับผู้สอนทั้ง 5 คนหลังการสังเกตการปฏิบัติการสอนจริงในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ แบบสอบถามวัดความเข้าใจตามแนวคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามทฤษฏีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, คำถามสำหรับการสัมภาษณ์และแบบประเมินการปฏิบัติการสอนจริงในชั้นเรียน สถิติที่ใช้ในการ  วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามทฤษฏีการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารค่อนข้างมาก 2) ผู้สอนได้นำแนวคิดการสอนเพื่อการสื่อสารไปปฏิบัติการสอนจริงในชั้นเรียนแต่ใช้วิธีการผสมผสานทั้งแบบดั้งเดิมกับแบบแนวคิดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยกิจกรรมที่จัดเป็นแบบคู่และกลุ่มอย่างไรก็ดีครูผู้สอนก็ยังคงเน้นการสอนตามหนังสือเรียนมากกว่าการทำกิจกรรมและคงใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารเป็นหลักจากการสัมภาษณ์พบว่าสาเหตุเนื่องมาจากเวลาที่จำกัดและจำนวนนักเรียนที่มากเกินไปทำให้การปฏิบัติตามแนวคิดการสอนเพื่อการสื่อสารไม่ดีเท่าที่ควร

   The objectives of this research were to: 1) examine high school teachers’ understanding on the concepts of Communicative Language Teaching Approach; and, 2) examine high school teachers’ CLT application in English instruction. The sample consisted of 50 high school English teachers from Muang district in Phuket province. Five of whom took part in semi-structured interviews immediately after the classes had been observed. The research instruments employed in this study comprised a series of questionnaires, semi-structured interviews, and classroom observations. The statistics computed from the data included the averages, standard deviations (S.D.), and percentages. Statistical techniques such as t-tests and one-way ANOVAs were also performed.

   The results revealed: 1) the teachers who partook in this study exhibit a clear understanding of The CLT concepts. 2) They applied CLT in class but integrated with traditional teaching in their classrooms. The students got to work in pairs or in groups according to the CLT methodology but teachers still followed set materials from the books rather than encourage communicative activities in class. In addition, Thai language was used as the main medium of instruction. The responses from the semi-structured interviews suggested that the failure of applying strictly conform to CLT approach was mainly due to large class size and time constraints.

Downloads

How to Cite

อัศวธีระ ด., & ศุขะวาที พ. (2015). การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษและการปฏิบัติจริงในชั้นเรียนตามทฤษฎีการสอน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดภูเก็ต. An Online Journal of Education, 10(1), 444–458. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40512