การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฏี การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด

Authors

  • มาฆพันธุ์ อ่ำนาคิล
  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Keywords:

แบบสอบอัตนัยประยุกต์/ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์/ ทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด/ MODIFIED ESSAY QUESTION TEST/ SCIENTIFIC PROBLEM SOLVING ABILITY/ GENERALIZABILITY THEORY

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์  (2)  เพื่อตรวจสอบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ (3)  เพื่อเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน  ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกันโดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 91 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการตรวจให้คะแนน 3 วิธี คือ  1. วิธีการตรวจให้คะแนนตามแบบของ Knox  2. วิธีการตรวจให้คะแนนตามแบบของ Feletti  และ  3. วิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย (analytic method)  สถิติที่ใช้ในงานวิจัย  คือ Cronbach’s alpha,  Pearson’s  Product  Moment  Correlation และ G - Coefficient  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  (1) วิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมี  3 องค์ประกอบ  คือ ความถูกต้องของเนื้อหา  การเข้าใจในสิ่งที่ต้องการวัด  และการจัดเรียบเรียงความคิด  และมีค่าความเที่ยงของวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อยที่ได้จากผลการทดลองใช้แบบสอบ เท่ากับ  0.838  (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย  พบว่า Intra rater reliability และ Inter rater reliability  มีค่าสูง ดังนั้นการตรวจให้คะแนนวิธีนี้มีความเป็นปรนัยในการตรวจให้คะแนน  (3) ผลเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน  ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกัน  พบว่า  ในทุกเงื่อนไขของวิธีการตรวจให้คะแนน  ความแปรปรวนของผู้สอบมีค่าสูงที่สุด  และความเที่ยงของวิธีการตรวจให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย มีค่าความเที่ยงสูงสุดในทุกเงื่อนไขจำนวนเหตุการณ์  และมีค่าความเที่ยงสูงขึ้นเมื่อจำนวนเหตุการณ์เพิ่มขึ้น

   The  purposes  of  this  study  were  1)  to develop  analytic  scoring  method  of modified  essay  question  test  for  measuring  scientific  problem  solving  ability,  2)  to  study the  quality of  the  analytic  scoring  method  of modified  essay  question  test  for  measuring  scientific  problem  solving  ability and  3) to compare the reliability  of  the modified  essay  question  test  for  measuring  scientific  problem  solving  ability  using  difference  scoring  methods  under  difference  numbers  of  event by  application  of  Generalizability  Theory.  Sample  were   91  mattayomsuksa 2  students.  Research  instruments  were  modified  essay  question  test  for  measuring  scientific  problem  solving  ability  and  3 scoring  methods,  i.e.,   Knox scoring  method, Feletti scoring  method, and analytic  scoring  method.  Cronbach’s alpha,  Pearson’s  Product  Moment  Correlation  and  G – Coefficient  were  used  to  analyze  the data.  It  was  found  that  1)  The  developed  analytic  scoring  methods  of modified  essay  question  test  for  measuring  scientific  problem  solving  ability  comprised  3  of  elements, i.e.,  accuracy  of  the  content,  comprehension  of  the  measured  content,  and organizing ideas. Reliability  of  the  developed  analytic  scoring  methods   received  from  try  out  session  was  0.838,  2)  Intra rater reliability and inter rater reliability were  high  indicating  that  the  developed  scoring  method  was  objective, 3)  Result of  the  comparisons  of  reliability  of  modified  essay  question  test  for  measuring  scientific  problem  solving  ability  using  difference  scoring  methods  under  difference  numbers  of  event  revealed  that  under  all of  the  conditions person  variance  was  highest.  In  addition  reliability of the  analytic  scoring  method  was  highest in  all  of  the  conditions.

Downloads

How to Cite

อ่ำนาคิล ม., & ตังธนกานนท์ ก. (2015). การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกัน ภายใต้จำนวนเหตุการณ์ที่ต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฏี การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด. An Online Journal of Education, 10(1), 459–473. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40513