ผลของการพัฒนาอัตลักษณ์ที่มีต่อการปรับตัวทางจิตสังคม ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • นุชา มนต์ภาณีวงศ์
  • ชุติมา สุรเศรษฐ

Keywords:

การปรับตัวทางจิตสังคม/ อัตลักษณ์/ โปรแกรมพัฒนาลักษณะอัตลักษณ์/ ADAPTIVE PSYCHOSOCIAL FUNCTIONING/ IDENTITY/ IDENTITY DEVELOPMENT PROGRAM

Abstract

  การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาลักษณะอัตลักษณ์ที่มีต่อการปรับตัวทางจิตสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมพัฒนาลักษณะอัตลักษณ์รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง และกลุ่มควบคุมได้รับการแนะแนวตามหลักสูตรปกติของโรงเรียน ดำเนินการทดสอบการปรับตัวทางจิตสังคมในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) และการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ (Pairwise Comparison) ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) ในระยะหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางจิตสังคมด้านการเห็นคุณค่าแห่งตนและด้านความแข็งแกร่งของอัตตาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ในด้านความเชื่ออำนาจภายในตนเองและความมุ่งหวังในชีวิต และไม่พบความแตกต่างทั้ง 4 ด้านในระยะติดตามผล และ (2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางจิตสังคมทั้ง 4 ด้าน ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางจิตสังคมเพียง 2 ด้าน ในระยะติดตามผลที่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการเห็นคุณค่าแห่งตน และความมุ่งหวังในชีวิต แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความเชื่ออำนาจภายในตนเอง และด้านความแข็งแกร่งของอัตตา

   This study describes a quasi-experimental design that aimed to promote identity exploration among 11th grade students to evaluate the effectiveness of the program to promote adaptive psychosocial functioning. Two classes sample of 60 various academic achievement 11th grade students, 30 students were assigned as experimental group which engaged in identity development program and other 30 students were assigned as control group which engaged in normal curriculum guidance lessons. All student completed measures of adaptive psychosocial functioning at before, after learning with identity development program and follow-up periods. The quantitative data were analyzed through one-way ANOVA and Post Hoc Comparison. Result showed (1) Experimental group after learning with identity development program showed significant different on self-esteem and ego-strength over control group. But found no significant different on all adaptive psychosocial functioning’ sub-components of experimental group over control group in follow-up period. (2) The scores of all adaptive psychosocial functioning’ sub-components in experimental group after learning with identity development program showed significant increase over before learning with identity development program. The scores of self-esteem and purpose in life of experimental group in follow-up period showed significant increase over before learning with identity development program.

 

st-font-family:"MS Mincho";mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language: EN-US;mso-bidi-language:TH'>4 ด้านในระยะติดตามผล และ (2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางจิตสังคมทั้ง 4 ด้าน ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวทางจิตสังคมเพียง 2 ด้าน ในระยะติดตามผลที่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการเห็นคุณค่าแห่งตน และความมุ่งหวังในชีวิต แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความเชื่ออำนาจภายในตนเอง และด้านความแข็งแกร่งของอัตตา

Downloads

How to Cite

มนต์ภาณีวงศ์ น., & สุรเศรษฐ ช. (2015). ผลของการพัฒนาอัตลักษณ์ที่มีต่อการปรับตัวทางจิตสังคม ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. An Online Journal of Education, 10(1), 523–535. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40518