การศึกษาความเป็นครูแบบอุร์สุลินของครูโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน

Authors

  • ศรีพิมพ์ ซาเวียร์
  • ปองสิน วิเศษศิริ

Keywords:

คุณลักษณะโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน /CHARACTERISTIC OF URSULINES TEACHERS

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นครูแบบอุร์สุลินของครูในโรงเรียนเครืออุร์สุลิน เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามคุณลักษณะของผู้บริหารและครูที่มีภูมิหลังต่างกัน ศึกษาระดับความยากง่ายของการปฏิบัติตามคุณลักษณะครูแบบอุร์สุลินของครูในโรงเรียนเครืออุร์สุลิน และศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ปัญหาของการปฏิบัติตามคุณลักษณะครูแบบอุร์สุลินของครูในโรงเรียนเครืออุร์สุลิน โดยใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู และ ผู้บริหารโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน 3 โรงเรียน จำนวน 291 คน การวิเคราะห์จำแนกออกเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนับความถี่ของประเด็นที่เกิดขึ้นซ้ำกัน

ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้  1) ความเข้าใจต่อคุณลักษณะครูอุร์สุลิน อยู่ในระดับดีเยี่ยม ยกเว้นการพัฒนาวิธีการสอนและการอบรมนักเรียน ซึ่งส่วนใหญ่มีความเข้าใจในระดับดี 2) ระดับการปฏิบัติจริง อยู่ในระดับปฏิบัติ ดีเยี่ยมใน 6 พฤติกรรม ในขณะที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ในระดับดีเยี่ยมน้อยที่สุด คือ การพัฒนาความเชื่อและความศรัทธา โดยที่ปัจจัยภูมิหลัง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการทำงานของครูและผู้บริหารโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน ไม่มีอิทธิพลต่อระดับความเข้าใจและระดับการปฏิบัติตามคุณลักษณะครูแบบอุร์สุลิน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  3) ความยากง่ายของการปฏิบัติ ในภาพรวมพบว่า ส่วนใหญ่สามารถปฎิบัติได้ง่ายในทุก คุณลักษณะ ยกเว้นความเป็นครูด้วยชีวิตและการพัฒนาความเชื่อและความศรัทธา เป็นคุณลักษณะที่ส่วนใหญ่พอปฏิบัติได้  4) ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติ ส่วนใหญ่เป็นข้อจำกัดที่เกิดขึ้นกับครู รองลงมาเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริหารจัดการบางประเด็นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับนักเรียน บางประเด็นเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมทางสังคม  ทั้งนี้ แนวทางการแก้ปัญหา ในภาพรวม ผู้บริหารควรเอื้ออำนวยในการพัฒนาครู เพื่อสนับสนุนให้ครูสามารถพัฒนาตนเองและปฏิบัติตามคุณลักษณะของครูอุร์สุลินได้ดียิ่งขึ้น

The objective of this research was to find out what teachers knew about the characteristics of an Ursuline teacher and what underlying factors of teachers determined the level of real teaching practice done in the Ursuline way in the Ursuline school system. This included the study of difficulty levels, problems and obstacles, and included an approach to solving problems, overcoming obstacles and improving Ursuline teachers in the Ursuline school system. The study used the survey method of a questionnaire directed toward 291 teachers and administrators of three schools in the Ursuline school system. The analysis was divided into quantitative and qualitative analysis. The quantitative data was analyzed using statistical methods; standard deviation by (t-test) and variance by one way (ANOVA) for the part of the analysis of quantitative data and counted the frequency of unique issues that arose.

A summary of findings is as follows:  1) The understanding of the characteristics of an Ursuline teacher was at an excellent level, except the development of teaching methods and training of students was at a good level. 2) The level of actual teaching practice was at an excellent level in 6 behavioral categories, while the least excellent behavioral (outcomes) were in development of belief and faith.Underlying factors including sex, age, level of education, and amount of experience of teachers and administrators in the Ursuline school system had a negligible influence (.05) on the understanding or practice of Ursuline teaching. 3) The difficulties of practice were found overall to be easy for all aspects except for life teaching and teaching about belief and faith.4) Problems and obstacles in (teaching) practice was for the most part a limitation that arose with the teachers, and, secondarily, with the administrators. Some were caused by students and others by environmental factors. The approach to problem solving was overall for the administrators to allow for professional development of teachers to support teacher in personal development according to characteristics of an Ursuline teacher.

Downloads

How to Cite

ซาเวียร์ ศ., & วิเศษศิริ ป. (2015). การศึกษาความเป็นครูแบบอุร์สุลินของครูโรงเรียนในเครืออุร์สุลิน. An Online Journal of Education, 10(1), 564–574. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40521