การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาครูอนุบาลในการจัดกิจกรรมเสรี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ชุลีวัลย์ รักษาภักดี
  • อุไรวาส ปรีดีดิลก

Keywords:

ครูอนุบาล / การประเมินความต้องการจำเป็น / การพัฒนาครู / การจัดกิจกรรมเสรี /PRESCHOOL TEACHERS / NEEDS ASSESSMENT / TEACHERS DEVELOPMENT / ORGANIZING FREE PLAY ACTIVITIES

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของครูอนุบาลในการจัดกิจกรรมเสรี (2) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นของครูอนุบาลในการจัดกิจกรรมเสรี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการจัดกิจกรรมเสรี และด้านการจัดกิจกรรมเสรี (3) เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาครูอนุบาลในการจัดกิจกรรมเสรี ตัวอย่างประชากร คือ ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเกตการจัดกิจกรรมเสรีของครูอนุบาล แบบสอบถามครูอนุบาล และประเด็นคำถามการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์เนื้อหา และการใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูอนุบาลมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมเสรี มีค่า PNIModified = 0.21  (2) ครูอนุบาลมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมเสรี ด้านที่ครูอนุบาลมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมเสรี (PNIModified = 0.24) รองลงมา คือ ด้านการวางแผนการจัดกิจกรรมเสรี (PNIModified = 0.17) (3) แนวทางในการพัฒนาครูอนุบาลในการจัดกิจกรรมเสรี ได้แก่ การแสวงหาความรู้และฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสรี การปฏิบัติตามแผนการจัดกิจกรรม การจัดชั้นเรียนทางกายภาพให้เอื้ออำนวยและเหมาะสมกับวัยเด็ก การศึกษาพฤติกรรมเด็กเป็นรายบุคคลอย่างละเอียดก่อนการจัดกิจกรรม การฝึกฝนความสามารถในการสังเกตพฤติกรรมเด็กระหว่างการทำกิจกรรมเสรี การสะท้อนการจัดกิจกรรมเสรี พฤติกรรมเด็ก การปฏิบัติของตนเองอย่างส่ำเสมอและต่อเนื่อง และการประสานความร่วมมือกับผู้บริหารกับผู้ปกครอง นอกจากศักยภาพในการพัฒนาตนเองแล้ว ครูอนุบาลยังต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์

The objectives of this research were (1) to study for preschool teachers in organizing free play activities, (2) to prioritize needs for preschool teachers in organizing free play activities in two aspects; Planning preparation and Implementation and (3) to propose the approaches for preschool teachers development in organizing free play activities. The sample was 334 preschool teachers in school sunder office of the basic education commission. Research tools were observation from, questionnaire from and recording from. Data were analyzed using frequency, percentage, mean standard deviation, content analysis and setting priority in terms of needs using Modified Priority Needs Index (PNImodified).

The research findings were as follows;  (1) preschool teachers needed to be trained in organizing free play activities PNImodified = 0.21, (2) preschool teachers needed to be trained in organizing free play activities Implementation (PNImodified = 0.24) at the most, followed is Planning preparation (PNImodified = 0.17) and (3) The strategies for preschool teachers development in organizing free play activities is  learning and applying in organizing free play activities, Implementation followed preparing lesson plan, creating a classroom atmosphere conducive to good behavior, getting to know each child, observant to children development, practicing self reflection and children's behavior, coordination with administrators and parents. Except potential for development. Teachers also need the cooperation of those involved administrator and education officer.

Downloads

How to Cite

รักษาภักดี ช., & ปรีดีดิลก อ. (2015). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาครูอนุบาลในการจัดกิจกรรมเสรี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. An Online Journal of Education, 10(1), 589–602. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40523