การวิเคราะห์บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเด็กอนุบาลโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)
Keywords:
บทบาทของผู้ปกครอง/การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ/เด็กอนุบาล / PARENTAL ROLES/PROMOTTING HEALTH BEHAVIORS/KINDERGARTENERSAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเด็กอนุบาลโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเป็นแบบอย่าง ด้านการกำกับติดตาม และด้านการสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเด็กอนุบาล โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณารายข้อในแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านการเป็นแบบอย่าง บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การเลือกซื้อนมที่บอกวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพในสังคม 2) ด้านการกำกับติดตาม บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การกำกับการดูฉลากยาและวันหมดอายุก่อนรับประทานและการกำกับไม่ให้เด็กนำของมีคมหรือของแหลมมาเล่น บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การควบคุม อาหารประเภทลูกอม และขนมกรุบกรอบของเด็ก 3) ด้านการสนับสนุน บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การให้เด็กรับประทานอาหารที่สุกสะอาด บทบาทของผู้ปกครองที่อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย ปัญหาและอุปสรรคที่พบ พบว่า ความเหนื่อยและความเครียดจากงานประจำ การไม่มีเวลาในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเด็กอนุบาลให้แก่บุตรหลาน และการไม่มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่บ้านแก่เด็ก ตามลำดับ
The purpose of this research was to analyze parents’ roles in promoting health behavior for kindergarteners in Watsai School (Thawornprommanukul) in 3 parts which were role modeling, setting limits, and providing support. The research samples used 100 parents of kindergarten in K2. The research instruments were a questionnaire form. The data from the questionnaire was analyzed by frequency distribution, percentage, arithmetic mean and standard deviation.
The results of this research found that parent roles in promoting health behavior of kindergarteners were mostly at moderate level. When considering these aspects, it was found that:
1) Role modeling at the highest level was to choose milk products by looking at manufactured date and expiration date, the lowest was participation in healthy activities in society. 2) Setting limits at the highest level were to beware by reading manufactured date and expiration date of medications and supervise child not to play with sharp or pointy objects, the lowest was to control candy and snack consumption. 3) Providing support at the highest level was to provide clean and cooked meal, the lowest was to organise sport activities with using variety of equipments. Problems and obstruction were tiredness and stress from daily work, limited of time to promote health behaviors to kindergarteners and limited knowledge and understanding in promoting health behaviors at home to children, respectively.