สภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบัง
Keywords:
การดำเนินงาน/การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน/มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ /OPERATION/INTERNAL QUALITY ASSURANCE/NATIONAL STANDARD OF CHILD CENTERAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบังทั้งหมด จำนวน 17 ศูนย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการวางแผนการทำงาน ผู้บริหารส่วนใหญ่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจในแผนพัฒนาศูนย์ฯ และผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ใช้มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติในการวางแผนการจัดประสบการณ์ ปัญหาที่พบมากคือ การกำหนดหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษา และการวิเคราะห์สภาพและปัญหาความต้องการจำเป็นของศูนย์ฯ 2) ด้าน การลงมือปฏิบัติ ผู้บริหารส่วนใหญ่นำสารสนเทศไปใช้ในด้านผู้เรียน และผู้ดูแลเด็กมีการตรวจสุขภาพเด็กทุกปี ปัญหาที่พบคือ การประชาสัมพันธ์แก่ชุมชน และการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทักษะการคิด 3) ด้านการตรวจสอบและประเมินผล ผู้บริหารส่วนใหญ่กำหนดบุคลากรในการประเมินผล และผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินด้านการเรียนรู้ ปัญหาที่พบคือ การค้นคว้าหาความรู้ในด้านการตรวจสอบและประเมินผลเนื่องจากขาดเอกสารที่เกี่ยวข้อง 4) ด้านการปรับปรุงและพัฒนา ผู้บริหารนำผลที่ปรับปรุงและพัฒนาไปใช้ในการวางแผนด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร ผู้ดูแลเด็กนำผลการปรับปรุงพัฒนาไปใช้ในการวางแผนโครงการหรือกิจกรรมของศูนย์ฯ ปัญหาที่พบคือ การปรับปรุงและพัฒนาขอบข่ายงานที่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
The purpose of this research was to study state and problem of the operation of internal quality assurance according to the national stadard of child center at child development centers in Bangkok Metropolis. The population of the study was 17 child development centers in the Ladkrabang district. The research instrument was a questionnaire. The data was analyzed using the frequency distributions and percentages.
The results were as follows: 1) In term of word plan: Most of directors defined vision and mission in development plan, and teachers used the national standard of child center for planning activities, while the biggest problems were the assignment and requirement analysis. 2) In term of word do: most of directors used information system for student and teachers have an annual health check for their children, while there were no community public relations and supporting cognitive skill 3) In term of word check: most of directors assigned the role to all staff and most of teachers used the evaluation’s result, while their biggest problem was inadequacy of evaluation document. 4) In term of word act: most of directors used the improvement for planning the role and responsibility and most of teachers used the improvement for planning activities, while their biggest problem of the improvement and development were contemporary situation.