การพัฒนามาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น A DEVELOPMENT OF SCIENTIFIC MIND SCALES FOR LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS

Authors

  • เฉลิมศักดิ์ มะลิงาม
  • ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง

Keywords:

การพัฒนามาตรวัด, จิตวิทยาศาสตร์ A DEVELOPMENT OF SCALES, SCIENTIFIC MIND

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น   2) ตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ศึกษาระดับคะแนนขององค์ประกอบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1,081 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีรูปแบบข้อคำถามเป็นแบบวัดสถานการณ์ จำนวน 4 ตัวเลือก การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัด ได้แก่ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก การตรวจสอบคุณภาพข้อคำถามรายข้อตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบให้คะแนนสองค่า (3PL) และค่าอำนาจจำแนก (item-total correlation)

       ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีคุณภาพ มีรูปแบบข้อคำถามแบบสถานการณ์ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2) คุณภาพของมาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ด้านความตรงเชิงเนื้อหา (ค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.56 ถึง 1.00 และค่า CVI เท่ากับ 0.89) ด้านความตรงเชิงโครงสร้าง โมเดลจิตวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 36.11, df = 26, p = 0.088, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.019) ด้านค่าความเที่ยง (ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.899 และค่าความเที่ยงขององค์ประกอบย่อยอยู่ระหว่าง 0.356 ถึง 0.744) และด้านค่าพารามิเตอร์ของข้อคำถามในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ IRT (ค่าความยาก มีค่าอยู่ระหว่าง -1.06 ถึง 0.58 ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 3.03 และค่าการเดา มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 0.33) 3) นักเรียนของจังหวัดศรีสะเกษมีค่าเฉลี่ยของคะแนนในองค์ประกอบด้านความใจกว้างสูงสุด เท่ากับ 2.317

The objectives of this research were 1) to develop the scientific mind scales for lower secondary school students, 2) to validate the quality of scientific mind scales for lower secondary school students, and 3) to study the level of scores in ten 10-scientific sub mind sub-scales of scientific mind for lower secondary school students. This study employed a descriptive research design. The samples used in this research were 1,081 lower secondary school students in Sisaket province. This research instruments were the scientific mind scales for lower secondary school students, and a situation form, which was included 4-choices. The data were analyzed by using index of validity item-objective congruence: IOC, confirmatory factor analysis, reliability analysis (Cronbach’s alpha coefficient) and item response theory analysis (3PL model).

The research results were as follows: 1) Scientific mind scales for lower secondary school students in a 4-choices situation form and the 4 choices. 2) The validation of the scientific mind scales for lower secondary school students found that content validity (IOC index of 0.56 to 1.00 and CVI index of 0.89), construct validity: the scientific mind model is consistently fitted to the empirical data (chi-square = 36.11, df = 26, p = 0.088, GFI = 0.99, AGFI = 0.99, RMSEA = 0.019), the reliability of the scientific mind scales for lower secondary school students was of at 0.899 (reliability of 10 sub-scales ranged from 0.356 to 0.744), the item parameter in IRT analysis (difficult index ranged from -1.06 to 0.58, the discrimination index ranged from 0.27 to 3.03, and the guessing index ranged from 0.00 to 0.33). 3) The Sisaket students have had maximum mean of scores in the generous-subscale was of at 2.317.

Author Biographies

เฉลิมศักดิ์ มะลิงาม

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง

อาจารย์ประจำสาขาวิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-19

How to Cite

มะลิงาม เ., & หลาวทอง ณ. (2017). การพัฒนามาตรวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น A DEVELOPMENT OF SCIENTIFIC MIND SCALES FOR LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS. An Online Journal of Education, 11(2), 1–15. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83322