การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย DEVELOPMENT OF A FLIPPED CLASSROOM MODEL WITH THE ONLINE LEARNING GROUP INVESTIGATION...

Authors

  • ชนากานต์ โสจะยะพันธ์
  • จินตวีร์ คล้ายสังข์

Keywords:

ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนแบบกลุ่มสืบสอบ, การเรียนการสอนออนไลน์, การเรียนรู้เป็นทีม, FLIPPED CLASSROOM, ONLINE LEARNING, GROUP INVESTIGATION, TEAM LEARNING

Abstract

       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบฯ  โดยในบทความนี้ จะขอนำเสนองานวิจัยในระยะที่ 1 ของงานวิจัยคือการนำเสนอการพัฒนารูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยระยะที่ 1 คือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาสังคมระดับชั้นมัธยมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้เป็นทีม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) แหล่งการเรียนรู้บนเว็บ 4) การติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ 5) กิจกรรมกลุ่มเพื่อการประยุกต์ใช้ และ 6) การวัดและประเมินผล และมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นแบ่งกลุ่ม 2) ขั้นนำเสนอเนื้อหาบนเว็บ 3) ขั้นบันทึกการเรียนรู้ 4) ขั้นวางแผนแบ่งหัวข้อเพื่อสืบค้น 5) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปเป็นชิ้นงาน และ 6) ขั้นนำเสนอผลงาน

       The purpose of this research was to develop and study expert opinions of a flipped classroom model with an online group investigation learning method to enhance team learning ability of upper secondary school students. This article is a report of phase 1 of this Research and Development (R&D) study. The sample for phase 1 of this research included ten experts in the field comprising educational technology experts, group investigation learning experts, social studies education experts and team learning experts. The research instruments consisted of an expert interview form and a model evaluation form. The data were analyzed by using mean and standard deviation.

       The results of the study generated six components and six steps. The six components were: (1) Learners; (2) Instructor; (3) Online learning resources; (4) Communication and interaction; (5) Applied group activities; and (6) Assessment. The Six steps were: (1) Dividing into groups; (2) Presenting contents on web; (3) Writing learning log; (4) Planning the investigation in groups; (5) Carrying out the investigation; and (6) Presenting the final report.

Author Biographies

ชนากานต์ โสจะยะพันธ์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จินตวีร์ คล้ายสังข์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-19

How to Cite

โสจะยะพันธ์ ช., & คล้ายสังข์ จ. (2017). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย DEVELOPMENT OF A FLIPPED CLASSROOM MODEL WITH THE ONLINE LEARNING GROUP INVESTIGATION. An Online Journal of Education, 11(2), 16–32. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83324