ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ THE PRIORITY NEEDS OF ACADEMIC ADMINITRATION FOR SAIPANYA SCHOOL UNDER THE ROYAL PATRONAGE OF HER MAJESTY THE QUEEN
Keywords:
ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการ, การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน, THE PRIORITY NEEDS TO ACADEMIC ADMINISTRATION, ACADEMIC ADMINISTRATIONAbstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ประชากรผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 8 คน ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมจำนวน 48 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันสูงที่สุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันต่ำที่สุดคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยที่พึงประสงค์สูงที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และด้านการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 2) ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นต่ำที่สุดคือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา
This research was conducted using a descriptive research method. The objectives of this research were 1) to study the actual state and the desirable state of in-school supervision at Saipanya School and 2) to study the priority needs of academic administration for Saipanya School. The research informants consisted of a school director, a vice director of academic affairs, 8 heads of department, 48 teachers and 5 basic education committees, for a total of 63 informants. The research instrument used in this study was a 5-level rating scaled questionnaire, and 100% of questionnaires were returned. The data was analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and PNI Modified.
The findings indicate that 1) The actual state of in-school academic administration of Saipanya School in terms of the overall quality as well as in terms of most characteristics were practiced at a high level. Considering each characteristic, it was found that the highest mean score is curriculum development. The desirable state of in-school academic administration of Saipanya School in terms of the overall quality and each characteristic was practiced at the highest level. Considering each characteristic, it was found that the highest mean score is instructional management and measurement and evaluation. 2) The priority needs of in-school academic administration of Saipanya School found that the highest index was Research for Education Quality Development, followed by developing the application of educational media and technology, and educational supervision.