การศึกษาความต้องการวิธีการในการนิเทศเพื่อส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ สำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต A SUPERVISION METHODOLOGY NEEDS STUDY FOR ENHANCEMENT OF SCHOLARLY WORKS FOR APPLICATION OF ACADEMIC TITLES OF RATTANA ...

Authors

  • ลลิดา วัชรศิริธรรม
  • ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Keywords:

ACADEMIC RANK, COACHING, MENTORING, COLLABORATIVE PROFESSIONAL DEVELOPMENT, SELF-DIRECTED DEVELOPMENT

Abstract

       การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการวิธีการในการนิเทศเพื่อส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการสำหรับขอการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ผู้ให้ข้อมูลคืออาจารย์ในมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตจำนวน 130 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์ของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตมีความต้องการวิธีการนิเทศโดยรวมทั้ง 4 รูปแบบตามแนวคิดของกลิคแมน ซึ่งได้แก่ วิธีการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ การนิเทศแบบพี่เลี้ยง การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ และการนิเทศแบบพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายวิธีพบว่า อาจารย์มีความต้องการวิธีการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเป็นอันดับแรกอันดับที่สองคือการนิเทศแบบพี่เลี้ยง อันดับที่สามคือวิธีการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ และอันดับสุดท้ายคือวิธีการนิเทศแบบพัฒนาตนเอง โดยอาจารย์ส่วนใหญ่เลือกวิธีการนิเทศแบบให้คำชี้แนะเพราะต้องการให้มีผู้บริหารหรือหัวหน้างานที่มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยกระตุ้นและสอนให้อาจารย์ทำงานไปตามขั้นตอนจนกระทั่งสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

       This research is aim to study a supervision methodology needs for enhancement of scholarly works for application of academic titles of Rattana Bundit university’s faculty members. The research instrument was design in 2 parts of close-ended questionnaire – checklist and rating scale, to collect data from 130 teachers who works in Rattana Bundit University. The data of descriptive statistic, means, standard deviation, was analysed by SPSS.

       The study reveals that an overall supervision methodology needs of Rattana Bundit University’s faculty members is at high level. Most teachers prefer coaching method to help them propel academic title achievement, followed by mentor, collaborative professional development and self-directed development. Those who prefer Coaching need help and support from a supervisor or a specialist to conduct their research process.

Author Biographies

ลลิดา วัชรศิริธรรม

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-20

How to Cite

วัชรศิริธรรม ล., & สุเมตติกุล ป. (2017). การศึกษาความต้องการวิธีการในการนิเทศเพื่อส่งเสริมการทำผลงานทางวิชาการ สำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต A SUPERVISION METHODOLOGY NEEDS STUDY FOR ENHANCEMENT OF SCHOLARLY WORKS FOR APPLICATION OF ACADEMIC TITLES OF RATTANA . An Online Journal of Education, 11(2), 178–188. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83815