การบริหารจัดการชั้นเรียนที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร Classroom Management Development to Enhance Quality Democratic ...

Authors

  • กานต์สินี สุขุมาลรังสี
  • ชญาพิมพ์ อุตสาโห

Keywords:

การบริหารจัดการชั้นเรียน, ความเป็นพลเมืองคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, Classroom Management, Quality Democratic Citizenship, Upper Secondary School Student

Abstract

       การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารจัดการชั้นเรียน และ
2) กรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองคุณภาพในระบอบประชาธิปไตยโดยใช้วิธีการสังเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูล

       ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน (teaching and learning) ประกอบด้วย การชี้แจงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (delineate clear learning activities) การมอบหมายงานตามความเหมาะสม (select appropriate learning task) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (implement and manage the activities) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (assess the learning outcomes) 2) ด้านการส่งเสริมพฤติกรรมของนักเรียน (student behavior) ประกอบด้วย การสร้างแรงจูงใจในชั้นเรียน (make learning task interesting)และการสร้างแนวปฏิบัติ (set general guidelines) และ3) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (learning environment) ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment)และสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา (psycho-social environment) 2. กรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วย คุณลักษณะ 3 ประการ ดังนี้ 1) พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ (personally responsible citizen)
2) พลเมืองที่มีส่วนร่วม (participatory citizen) และ3) พลเมืองที่มุ่งเน้นความยุติธรรมในสังคม (justice-oriented citizen)

       This study was documentary research. The purposes of this research were 1) to study the conceptual framework of Classroom management. 2) to study the conceptual framework of Quality Democratic Citizenship. A documentary synthesis method was use. The research instrument was records. Data were analyzed by content analysis.

       The finding were as follows: 1. The conceptual framework of Classroom management composed of 1.1) teaching and learning comprised of four components as follows delineate clear learning activities, select appropriate learning task, implement and manage the activities and, assess the learning outcomes, 1.2) student behavior comprised of two components as follows make learning task interesting and, set general guidelines, 1.3) learning environment comprised of two components as follows physical environment and, psycho-social environment. 2. The conceptual framework of Quality Democratic Citizenship composed of 2.1) personally responsible citizen, 2.2) participatory citizen,
2.3 justice-oriented citizen

Author Biographies

กานต์สินี สุขุมาลรังสี

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชญาพิมพ์ อุตสาโห

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาขาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและการเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-20

How to Cite

สุขุมาลรังสี ก., & อุตสาโห ช. (2017). การบริหารจัดการชั้นเรียนที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร Classroom Management Development to Enhance Quality Democratic . An Online Journal of Education, 11(3), 1–15. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83826