การศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพ ต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 EFFECTS OF A CAREER SELF-EFFICACY PROGRAM ON THE CAREER DECISION MAKING OF GRADE 12 STUDENTS

Authors

  • มนาปี คงรักช้าง
  • ชุติมา สุรเศรษฐ

Keywords:

การรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพ, การตัดสินใจเลือกอาชีพ, CAREER SELF-EFFICACY, CAREER DECISION MAKING

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพต่อความสามารถในการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพ กับการแนะแนวทางอาชีพด้วยวิธีการปกติ ต่อความสามารถในการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองที่ได้ใช้โปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพ จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การแนะแนวทางอาชีพด้วยวิธีการปกติ จำนวน 20 คน โดยโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพสำหรับกลุ่มทดลองจากองค์ประกอบ 2 มิติ คือ  องค์ประกอบที่ 1 มิติด้านวิธีการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองตามแนวคิดเรื่องการรับรู้ความสามารถของตนเองของทฤษฎีปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) ของ Bandura (1997) ประกอบกับองค์ประกอบที่ 2 คือ มิติด้านเนื้อหาจากการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพ จากแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพ (Career Decision-Making Self-Efficacy Scale: CDMSE) ของ Taylor และ Betz (1983) มีเนื้อหาครอบคลุม การแนะแนวด้านอาชีพ การแนะแนวด้านการศึกษา และการแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม โดยการจัดกิจกรรมตามองค์ประกอบดังกล่าวแบ่งเป็น 10 กิจกรรม ใช้ระยะเวลากิจกรรมละ 50 นาที รวมเวลาทั้งหมด 8 ชั่วโมง 20 นาที และใช้แบบวัดการตัดสินใจเลือกอาชีพทดสอบก่อนและหลังการทดลอง

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกอาชีพสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกอาชีพสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

This study examined the effectiveness of a career self-efficacy program designed on the career decision-making process of grade 12 students. This study’s purposes were (1) to study the effectiveness of a career self-efficacy program on the career decision-making ability of grade 12 students, and (2) to compare the effectiveness between the career self-efficacy program and career guidance teaching on the career decision-making ability of grade 12 students. This quasi-experimental research contains one experimental group and one control group. The experimental group was in the career self-efficacy program and the control group was not. The career self-efficacy program included two domains: (1) The Sources of Self-Efficacy from Social Cognitive Theory (Bandura, 1997) and (2) The Phychometric factors of Career Decision-Making Self-Efficacy Scale (Taylor & Betz, 1985). Both contain the contents of career guidance, educational guidance, and personal and social guidance. The program included 10 activities, with 50 minutes for each activity, taking a total of 8 hours and 20 minutes.

The Career Decision Scale was delevoped to administrate at pretest and posttest. The results indicated significant effects on the career decision making posttest score of the experimental group which was higher than their own pretest score and the posttest score of the control group.

Author Biographies

มนาปี คงรักช้าง

นิสิตปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชุติมา สุรเศรษฐ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-20

How to Cite

คงรักช้าง ม., & สุรเศรษฐ ช. (2017). การศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพ ต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 EFFECTS OF A CAREER SELF-EFFICACY PROGRAM ON THE CAREER DECISION MAKING OF GRADE 12 STUDENTS. An Online Journal of Education, 11(3), 59–79. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83875