การพัฒนาตัวบ่งชี้การประกันการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู DEVELOPMENT OF INDICTORS FOR ASSURANCE OF LEARNING OF STUDENT TEACHERS IN TEACHING PRACTICES
Keywords:
การประกันการเรียนรู้, การนิเทศ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, ASSURANCE OF LEARING, SUPERVISION, TEACHING PRACTICESAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือประเมินการนิเทศเพื่อการประกันการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) วิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ในระบบการประกันการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของระบบประกันการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 5 จำนวน 803 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Mplus
ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือประเมินการนิเทศเพื่อการประกันการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาเกณฑ์ค่าดัชนี IOC ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 มีค่าความเที่ยงของแต่ละองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.83 ถึง 0.96 และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดล พบว่า โมเดลการวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างที่แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 2) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมดมีขนาดอยู่ระหว่าง 0.57 ถึง 0.96 และทุกตัวแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) โมเดลเชิงสาเหตุระบบประกันการเรียนรู้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ (= 26.01, df=19, p = 0.13, CFI = 1.00, TLI = 1.00, RMSEA = 0.02)
The purposes of this research were as follows 1) to develop an instrument of assurance of learning in supervising students; 2) to analyze factors and indicators of assurance of the learning system of student teachers; and 3) to develop and examine the goodness of fit or the model of cause and effect of the assurance of learning of student teachers. The sample, randomly selected, consisted of 803 student teachers. Data were collected through survey questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics by SPSS and Structural Equation Model SEM by Mplus. The research findings were as follows: 1) The developed instrument shows content validity with Item Objective Congruence (0.80 to 1.00). Reliability coefficient of the instrument (0.83 to 0.96) and construct validity of the measurement model were significant at p < .05. 2) All factor loadings are between 0.57 and 0.96, and effects were significant at a level of p < .05. 3) The model of the assurance of learning fit to the empirical data with Chi-square = 26.01, df=19, p = 0.13, CFI = 1.00, TLI = 1.00, RMSEA = 0.02.