การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้ กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 THE DEVELOPMENT OF AN ENHANCEMENT PROGRAM ON PROSOCIAL BEHAVIORS USING OBSERVATIONAL LEARNING PROCESSES FOR FIFTH GRADE STUDENTS
Keywords:
พฤติกรรมเอื้อสังคม, กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต, PROSOCIAL, BSERVATIONAL LEARNING PROCESSESAbstract
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดไผ่ตัน สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามปกติจำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมเอื้อสังคมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมในระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = .017) 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเอื้อสังคมในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน
The purposes of this research were: 1) to develop the enhancement program on pro-social behaviors using observational learning processes for fifth grade students; 2) to study the effects of an enhancement program on pro-social behaviors using observational learning processes for fifth grade students; and 3) to compare the mean of pro-social average scores between an experimental group and a control group. The participants comprised 50 fifth grade students from Watphaiton School who were enrolled in the 2016 academic year. The participants were allocated to two groups: an experimental group which received the enhancement program on pro-social behaviors using observational learning processes, and a control group. The research instrumentals were a pro-social behaviors questionnaire and the enhancement program on pro-social behaviors using observational learning processes. Data were analyzed by t-test.
The results were as follows: 1) After receiving the program, the experimental group students in the stage of post-test had higher pro-social behaviors test average scores than the control group at a .05 level of significance; and 2) Pro-social behaviors test average scores of the experimental group in the stages of pre-test, post-test and Follow-up test were not significantly different.