การศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง A STUDY OF THE SCHOOL ADMINISTRATORS’ ROLE IN THE COMPETENCY DEVELOPMENT OF TEACHERS UNDER THE OFFICE OF ANGTHONG PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA
Keywords:
บทบาทของผู้บริหาร, สมรรถนะของครู, ROLES OF ADMINISTRATORS, TEACHER COMPETENCIESAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง กรอบแนวคิดในการวิจัยกำหนดในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2553) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 50 คน และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 251 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ด้านความคิดเห็นของผู้บริหารในด้านสมรรถนะหลัก คือสมรรถนะที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดในด้านสมรรถนะประจำสายงาน สมรรถนะที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย ในขณะที่ด้านครูมีความคิดเห็นว่า สมรรถนะประจำสายงาน สมรรถนะที่ 2 การพัฒนาผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และตรงกับความคิดเห็นด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ว่าสมรรถนะที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ซึ่งในภาพรวมพบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารและครูไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purpose of this research was to study the role in the competency development of teachers under the Office of Angthong Primary Education Service area. The research framework was that of the Basic Education Commission (2553). The sample population consisted of 50 administrators and 256 teachers, with a rating scale questionnaire. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.
The results showed that the role in the competency development of teachers under the Office of Angthong Primary Education Service area. The opinion of the management on core competencies was as follows. The highest average was performance was the focus on the achievement of performance. The lowest was the fourth line performance analysis and research synthesis. In contrast, the teachers were of the opinion that the performance of the second line of performance development class has the highest average. Also, the opinions of administrators regarding the fourth performance analysis and research synthesis had the minimum average. They were did not differ statistically at a 0.05 level of significance.