การศึกษาความคาดหวังสวัสดิการของครูอัตราจ้างที่มีภูมิหลังต่างกันของ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี A STUDY OF TEMPORARY CONTRACT TEACHERS’ EXPECTATIONS FOR EMPLOYEE BENEFITS WITH DIFFERENT ...

Authors

  • วิทวัส สวัสดิ์ปัญญาโชติ
  • ธีรภัทร กุโลภาส

Keywords:

ความคาดหวัง, สวัสดิการ, ครูอัตราจ้าง, EXPECTATION, EMPLOYEE BENEFITS, TEMPORARY CONTRACT TEACHER

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1.เพื่อศึกษาความคาดหวังสวัสดิการ   ครูอัตราจ้าง โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ และ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังต่อสวัสดิการครูอัตราจ้าง ที่มีภูมิหลังต่างกันของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประชากรคือครูอัตราจ้าง โรงเรียน   สายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติเปรียบเทียบ t – test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

       ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) ความคาดหวังสวัสดิการครูอัตราจ้าง โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยครูอัตราจ้างมีความคาดหวังสวัสดิการสูงที่สุดในด้านการส่งเสริมให้ครูอัตราจ้างให้สามารถบรรจุเป็นข้าราชการ และมีความคาดหวังต่ำที่สุดในด้านการเปิดโอกาสให้ครูอัตราจ้างแสดงศักยภาพด้วยการมีส่วนร่วมรับผิดชอบงานที่สำคัญของโรงเรียน 2) ครูอัตราจ้างที่มีความแตกต่างกันในด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส มีความคาดหวังสวัสดิการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 รวม 7 ด้าน ได้แก่ 1) การสนับสนุนเงินช่วยเหลือในโอกาสต่างๆ เช่น ความสูญเสียที่เกิดจากภัยพิบัติ เป็นต้น 2) การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการออมและการวางแผนทางการเงิน 4) การจัดพื้นที่ทำงานประจำในขนาดและสภาพที่เหมาะสม  5) มีบริการรถรับ – ส่ง จากสถานีรถไฟฟ้าถึงโรงเรียน 6) การส่งเสริมให้ครูอัตราจ้างให้สามารถบรรจุเป็นข้าราชการ และ 7) สิทธิบุตรของครูอัตราจ้างสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ในกรณีพิเศษตามเกณฑ์ที่โรงเรียน

       This descriptive research has 2 major objectives: 1) To study temporary contract teachers’ expectations for employee benefits, and 2) to compare temporary contract teachers’ expectations for employee benefits with different backgrounds. The population was comprised of 20 temporary contract teachers. The instrument used in this study was a questionnaire. The data were analyzed using frequency, percentage, average, standard deviation, t – test and One Way ANOVA.

       The research findings were summarized as follows: 1) Temporary contract teachers’ expectations for employee were at a high level, and the highest was opportunities to be promoted to permanent position. The lowest was the opportunity to show ability by being in charge of important jobs. 2) Temporary contract teachers’ with different genders, age groups and marital status had different expectations for employee benefits in the 7 areas at a significance level of .05. The areas of difference were 1) monetary support for special occasions (i.e., losses due to natural disaster etc.); 2) setting up funds for supporting additional expenses in case of emergency illnesses; 3) having programs to encourage personal savings and financial planning; 4) accommodating a pleasant workplace; 5) providing bus transportation service from school – via BTS or MRT; 6) hving opportunities to be promoted to a permanent position; and 7) granting temporary contract teachers’ children special consideration to enroll in schools.

Author Biographies

วิทวัส สวัสดิ์ปัญญาโชติ

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีรภัทร กุโลภาส

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

Downloads

Published

2017-04-20

How to Cite

สวัสดิ์ปัญญาโชติ ว., & กุโลภาส ธ. (2017). การศึกษาความคาดหวังสวัสดิการของครูอัตราจ้างที่มีภูมิหลังต่างกันของ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี A STUDY OF TEMPORARY CONTRACT TEACHERS’ EXPECTATIONS FOR EMPLOYEE BENEFITS WITH DIFFERENT . An Online Journal of Education, 11(3), 219–233. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83926