ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดการสร้างแรงจูงใจในการเรียน ที่มีต่อแรงจูงใจในการเรียนศิลปะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดจันทร์งาม สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร THE EFFECT OF TEACHING ART BASED ON THE CONCEPT...
Keywords:
การสอนศิลปะ, การจูงใจ, แรงจูงใจในการเรียน, ART TEACHING, MOTIVATING, LEARNING MOTIVATIONAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดการสร้างแรงจูงใจในการเรียน ที่มีต่อแรงจูงใจในการเรียนศิลปะของนักเรียนในโรงเรียนวัดจันทร์งาม (นามสมมติ) สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนวัดจันทร์งาม (นามสมมติ) สังกัดสำนักงานเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร จำนวน 22 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1.แผนการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะตามแนวคิดการสร้างแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียน 3.แบบวัดแรงจูงใจในการเรียนรู้มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการเรียนจากการประเมินจากแบบสังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะตามแนวคิดการสร้างแรงจูงใจในการเรียนที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนศิลปะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research study were to study the effect of teaching art, based on the concept of fostering motivation to learn, on the learning motivation in art of sixth grade students. The population used in the research consisted of 22 sixth grade students who were studying in Watchangnam school (alias) during the second semester of the 2015 academic year. The research design was an experimental one group pretest and posttest design. The research instruments were comprised of elementary student art lesson plans which were based on the principle of teaching art in elementary schools, and the concept of learning motivation, the Student Learning Behavior Observation Checklist, and learning motivation questionnaires which had a reliability analysis rating of 0.87. The data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test.
The research findings were as follows: 1) the student learning motivation mean scores for the experimental group after treatment were significantly higher than before the treatment at a .05 level; and 2) the student learning behavior mean scores for the experimental group after treatment were significantly higher than before the treatment at a .05 level.