คุณค่าโนรา NORA VALUE

Authors

  • พัทธานันท์ สมานสุข
  • พรทิพย์ อันทิวโรทัย

Keywords:

โนรา, วัฒนธรรมพื้นบ้าน, คุณค่า, Nora, Folk Culture, Value

Abstract

       งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของโนรา 2) เพื่อวิเคราะห์การสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีศึกษาโนรายก ชูบัว เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสารสนเทศ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก มีผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 40 คน จำแนกเป็นกลุ่มบุคลลร่วมสมัย 10 คน กลุ่มผู้แสดง 10 คน กลุ่มผู้ชม 10 คน และกลุ่มศิษย์เก่า 10 คน และตรวจสอบร่างแนวทางการสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญโนรา 7 คน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 2 คน

       ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณค่าของโนรามี 6 ด้าน คือ (1) ด้านร่างกาย ทำให้สรีระแข็งแรง ระบบไหลเวียนเลือดดี มีรูปร่างกำยำและบึกบึน เป็นที่น่าเกรงขาม (2) ด้านจิตใจ ทำให้มีสมาธิดี จิตใจได้ผ่อนคลาย ช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น มีจิตใจที่ละเอียดอ่อนละเมียดละไม เป็นการใช้โนราเพื่อกล่อมเกลาจิตใจทั้งผู้ชมและผู้แสดง (3) ด้านสุนทรียศาสตร์ สัมผัสได้จากท่ารำที่สง่างามทรงพลัง แฝงด้วยคติธรรม ความเชื่อและภูมิปัญญา รวมถึงชุดลูกปัดโนราที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และดนตรีที่มีท่วงทำนองกระฉับกระเฉงและเร้าใจ (4) ด้านจริยศาสตร์ เป็นการสอนผ่านบทกลอนโนราที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ทำให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักและหยั่งรู้ นำไปสู่การยกระดับเพื่อการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (5) ด้านหัตถศิลป์ เห็นได้จากเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่มีสีสันฉูดฉาด สร้างสรรค์เป็นงานศิลป์เฉพาะตัว (6) ด้านวรรณศิลป์ เห็นได้จากบทกลอนโนราที่ใช้ภาษาถิ่น เข้าใจง่ายและมีหลากหลายรูปแบบ เช่น กลอนแปด กาพย์ยานี 11  2) การสืบทอดโนราเพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีศึกษาโนรายก ชูบัว พบว่า ครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา วิธีสอนเน้นทักษะ 4 ด้าน คือ การรำ การร้อง การทำบทและการเล่นเป็นเรื่อง วิธีสอนเฉพาะตัวของท่าน คือ รวบการรำและการร้องไปพร้อมกันเพื่อความรวดเร็ว กิจกรรมการเรียนรู้นิยมให้ผู้เรียนแต่งกลอนและการว่ามุตโตโนราตามแบบของท่าน

       The objectives of this research were: 1) to analyze the values of Nora; 2) to analyze the transmission of Nora for the preservation of folk culture, a case study of Yok Chubua. The qualitative data collection consists of articles, observations and in-depth interviews. Forty people were interviewed, including ten contemporary people, ten performers, ten viewers and ten alumni. Then the transmission of Nora was investigated in terms of the preservation of folk culture and studied by means of a discussion with seven Nora experts and interviews with two cultural and educational technology experts.

       The findings were as follows: 1) There were six values of Nora: (1) Nora’s physical values helped improve physical strength and circulation, resulting in a well-defined body; (2) Nora mental values helped improve concentration and mental well-being, resulting in a blissful mind. Nora helped cultivate the mind of the performers and the viewers; (3) Nora aesthetic values were apparent in the gracious and powerful dancing poses, including beads as part of the dancing costumes, and exciting  rhythm, displaying teachings, beliefs, and wisdom; (4) Nora’s ethical values were taught through verses explaining morals and ethics that allowed students to gain insights, leading to self-actualization; (5) Nora’s craftsmanship values were apparent in the colorful costumes and ornaments which were one of a kind craftsmanship; and (6) Nora’s literary values were apparent in Nora verses using clear local dialects and different prosodies, including eight and eleven syllable poems. 2) The transmission of Nora for the preservation of folk culture, a case study of Yok Chubua covered three education systems: formal education, non-formal education, and informal education. Most students were in primary education. The teaching methods focused on four skills: dancing, singing, writing, and role playing. His iconic teaching method was combining dancing and singing for time-saving purposes. The learning activities focused on imitating his poem’s composition style and Mutto recitation.

Author Biographies

พัทธานันท์ สมานสุข

นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พรทิพย์ อันทิวโรทัย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-20

How to Cite

สมานสุข พ., & อันทิวโรทัย พ. (2017). คุณค่าโนรา NORA VALUE. An Online Journal of Education, 11(3), 407–421. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84006