การศึกษาความพอพึงใจที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอนของครูอำนวยศิลป์ THE SATISFACTION STUDY TOWARD THE INSTRUCTIONAL SUPERVISION PROCESS OF AMNUAYSILPA SCHOOL

Authors

  • ธัญญธร โคตุทา
  • จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Keywords:

กระบวนการนิเทศการสอน, การศึกษาความพึงพอใจ, INSTRCTIONAL SUPERVISION PROCESS, THE STUDY OF SATISFACTION

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอนของครูโรงเรียน         อำนวยศิลป์ และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศในระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยม

ศึกษาของโรงเรียนอำนวยศิลป์ที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอน ผู้ให้ข้อมูลคือครูผู้สอนโรงเรียนอำนวยศิลป์จำนวน 66 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่า F (F-test) และความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA)

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของครูโรงเรียนอำนวยศิลป์ที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยความ พึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการสังเกตการสอน 2) ครูที่สอนในระดับชั้นที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศ     การสอนของโรงเรียนอำนวยศิลป์โดยรวมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยในระดับอนุบาลครูมีความ       พึงพอใจสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง ระดับประถมศึกษาครูมีความพึงพอใจน้อยที่สุดอยู่ในระดับน้อย ส่วนระดับมัธยมศึกษาครูมีความพึงพอใจปานกลางอยู่ในระดับปานกลาง 

This research had 2 main objectives: 1) to study satisfaction toward the instructional supervision process of Amnuaysilpa school teachers; 2) to study the comparison of the satisfactions of Amnuaysilpa school teachers in foundation, primary and secondary levels toward the instructional supervision process. The population in this study comprised the 66 Amnuaysilpa school teachers in foundation, primary and secondary levels. This research used a questionnaire. Analysis of data used a software package. The statistical procedure used for analyzing data was frequency percentage, mean, standard deviation: F-test and one way analysis of variance (one-way ANOVA).

The results  of research found that: 1. An overview of satisfaction toward the instructional supervision process of Amnuaysilpa school teachers was around the middle level. Each aspect of  the satisfaction toward the instructional supervision process of Amnuaysilpa school was around the middle level. 2. Satisfaction toward the instructional supervision process of Amnuaysilpa school teachers in foundation, primary and secondary levels differs in statistical significance by 0.05. Teachers in the foundation level have the highest satisfaction at around the middle level, teachers in the primary level have the lowest satisfaction at around the low level. Teachers in the secondary level have satisfaction at around the middle level.        

Author Biographies

ธัญญธร โคตุทา

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-21

How to Cite

โคตุทา ธ., & สุดรุ่ง จ. (2017). การศึกษาความพอพึงใจที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอนของครูอำนวยศิลป์ THE SATISFACTION STUDY TOWARD THE INSTRUCTIONAL SUPERVISION PROCESS OF AMNUAYSILPA SCHOOL. An Online Journal of Education, 11(2), 292–304. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84148