ผลของวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางเคมี และเจตคติต่อการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 EFFECTS OF USING THE INQUIRY METHOD WITH TEAM-BASED LEARNING ON THE CHEMISTRY PROBLEM SOLVING ABILITY AND ATTITUDES TO

Authors

  • ณัฐพล สีจาด
  • ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์
  • พร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม

Keywords:

การเรียนรู้เป็นทีม, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางเคมี, เจตคติต่อการทำงานกลุ่ม, Team-based learning, Chemistry Problem solving ability, Attitudes toward group work

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีม 2) เพื่อศึกษาเจตคติต่อ
การทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ที่ศึกษาใน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความสามารถใน
การแก้ปัญหาทางเคมีและแบบวัดเจตคติต่อการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นนำคะแนนเฉลี่ยไปทดสอบด้วยสถิติทีด้วยเกณฑ์ที่กำหนด
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถในการแก้ปัญหาทางเคมีหลังเรียนเท่ากับ 63.23 จัดอยู่ในระดับความสามารถดีและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงขั้นตอนสูงที่สุด รองลงมาคือความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงมโนทัศน์และปัญหาบูรณาการ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 76.32 60.78 และ 56.35 ตามลำดับ  2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการทำงานกลุ่มหลังเรียนด้วยวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีมเท่ากับ 3.71 จัดอยู่ในระดับเจตคติต่อการทำงานกลุ่มที่ดีและสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยขององค์ประกอบด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และ
ด้านพฤติกรรมเท่ากับ 3.96 3.71 และ 3.46 ตามลำดับ โดยนักเรียนเห็นด้วยที่สุดว่าการช่วยเหลือกันเป็นสิ่งสำเป็นในการทำงานร่วมกันมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 รองลงมาคือการยอมรับความคิดเห็นของสมาชิกคนอื่นเป็นสิ่งที่ควรทำ
เท่ากับ 4.44 และนักเรียนยังคิดว่าเป็นการยากที่จะให้สมาชิกคนอื่นยอมรับความคิดเห็นของตนเองเท่ากับ 2.56

This study was a pre-experimental research. The purposes of this study were: 1) to study the problem solving ability of grade 11 students learning by the inquiry method with team-based learning; and 2) to study attitudes toward group work of grade 11 students learning by the inquiry method with team-based learning. The participants were grade 11 students at a high school of the secondary educational area office 2 during the first semester of academic year 2016. The research instruments were a chemistry problem solving ability test and attitudes toward group work test. The findings showed that 1) the mean score in chemistry problem solving ability after learning was 63.23 percent which was higher than the significance level of .05. That is, the students had good chemistry problem solving ability. Algorithmic problems received the highest mean score of 76.32, followed by conceptual problems (60.78) and integrated problems (56.35), respectively. 2) It was found that the mean score in attitudes toward group work after learning was 3.71 which was higher than the significance level of .05. That is, the students had good attitudes toward group work. The mean scores of the cognitive and affective component were 3.96 and 3.71, respectively. The students had the highest mean score in attitudes toward group work in the aspect of the view that helping each other is necessary for every member to work together and accept others’ opinions were at 4.47 and 4.44, respectively. However, the students admitted that it was difficult for them to convince other members to agree with their own reasons was at 2.56.

Author Biographies

ณัฐพล สีจาด

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์

อาจารย์ประจาสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม

อาจารย์ประจาภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-21

How to Cite

สีจาด ณ., พรหมรัตน์ ป. ล., & เพียรพินิจธรรม พ. (2017). ผลของวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางเคมี และเจตคติต่อการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 EFFECTS OF USING THE INQUIRY METHOD WITH TEAM-BASED LEARNING ON THE CHEMISTRY PROBLEM SOLVING ABILITY AND ATTITUDES TO. An Online Journal of Education, 11(2), 320–335. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84151