ผลของการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม ที่มีผลต่อความสามารถในการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น EFFECTS OF SOCIO-SCIENTIFIC ISSUES BASED LEARNING ON ENVIRONMENTAL LITERACY OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Keywords:
แนวคิดวิทยาศาสตร์และสังคม, การรู้สิ่งแวดล้อม, SOCIO-SCIENCTIFIC ISSUE, ENVIRONMENTAL LITERACYAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป โดยจำแนกตามองค์ประกอบการรู้สิ่งแวดล้อมเป็น 3 ด้าน คือ ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เจตคติด้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขนาดเล็ก ประจำอำเภอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จังหวัดขอนแก่น ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 2) แบบวัดเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 และ 3) แบบรายงานพฤติกรรมตนเองด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมมีความสามารถในการรู้สิ่งแวดล้อมดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป 2) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม เจตคติด้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The purposes of this research were to 1) study environmental literacy of lower secondary school students group who learned through Socio-scientific issues methods and 2) compare environmental literacy of lower secondary school students between groups learning through Socio-scientific issue method and the conventional method environmental literacy comprising of 3 components which environmental knowledge, environmental attitudes and environmental behaviors. The samples were two classes of students in lower secondary school from small-size school in Secondary Educational Service Area Office 25 in Khonkean province, during the first semester of academic year 2016. The research instruments for collecting data were 1) environmental knowledge test with the reliability at 0.97, 2) environmental attitudes test with the reliability at 0.81 and 3) self-report on environmental behaviors with the reliability at 0.82. The collected data were analyzed through average score, means of percentage, standard deviation and t-test.
The research findings were as follows 1) Environmental literacy of the lower secondary school students who learned through the Socio-scientific issue method were better than those who learned through the conventional method. 2) The average score of environmental knowledge, environmental attitudes and environmental behaviors of the lower secondary school students who learned through the Socio-scientific issue method were significantly higher than those who learned through the conventional method at the level of 0.05.