การพัฒนารูปแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย THE DEVELOPMENT OF A VIRTUAL FIELD TRIP USING HISTORICAL METHOD TO ENHANCE THE CRITICAL THINKING AB

Authors

  • พิสิฐ แย้มนุ่น
  • เนาวนิตย์ สงคราม

Keywords:

การศึกษานอกสถานที่เสมือน, วิธีการทางประวัติศาสตร์, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, VIRTUAL FIELD TRIP, HISTORICAL METHOD, CRITICAL THINKING

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยบทความนี้จะขอนำเสนองานวิจัยในระยะที่ 1 ของงานวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษาหรือประวัติศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินรูปแบบ ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกสถานที่เสมือน วิธีการประวัติศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สรุปได้เป็นองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรม 2) ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 3) สื่อการเรียนการสอน 4) การประเมินผล และมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นกำหนดประเด็นปัญหาและสมมุติฐาน 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลหลักฐาน 3) ขั้นวิเคราะห์และตีความข้อมูล 4) ขั้นสรุปและนำเสนอ

The purpose of this research study was to develop a virtual field trip using the historical method to enhance the critical thinking ability of high school students. This article is a report of phase 1 of the Research and Development (R&D). The sample for the survey consisted of five experts in the field of educational technology and teaching social or historical experts. The research instruments consisted of an expert interview form and a model evaluation form. The result of this study was the model comprised of four elements and the four steps. The four elements were: (1) The objective of the activity; (2) Online learning management system; (3) Instruction media; and (4) Evaluation. The four steps were: (1) The set of issues and hypotheses; (2) The data collected evidence; (3) Advanced data analysis and interpretation and (4) The presentation of the conclusions.

Author Biographies

พิสิฐ แย้มนุ่น

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา   

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนาวนิตย์ สงคราม

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Published

2017-04-21

How to Cite

แย้มนุ่น พ., & สงคราม เ. (2017). การพัฒนารูปแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย THE DEVELOPMENT OF A VIRTUAL FIELD TRIP USING HISTORICAL METHOD TO ENHANCE THE CRITICAL THINKING AB. An Online Journal of Education, 11(4), 35–46. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84189