การพัฒนากระบวนการประเมินทักษะปฏิบัติการเคมี โดยใช้แนวคิดการสืบสอบที่มีการแนะแนวทางสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น A DEVELOPMENT OF CHEMICAL LABORATORY SKILLS ASSESSMENT PROCESS USING GUIDE-INQUIRY APPROACH FOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS

Authors

  • นรีรักษ์ ทองสะอาด
  • ศิริเดช สุชีวะ

Keywords:

ทักษะปฏิบัติการเคมี, การสืบสอบที่มีการแนะแนวทาง, CHEMICAL LABORATORY SKILLS, GUIDE-INQUIRY APPROACH

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการประเมินทักษะปฏิบัติการเคมี โดยใช้แนวคิดการสืบสอบที่มีการแนะแนวทางสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อพัฒนาชุดเครื่องมือในการประเมินทักษะปฏิบัติการเคมี โดยใช้แนวคิดการสืบสอบที่มีการแนะแนวทางสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือในการประเมินทักษะปฏิบัติการเคมี โดยใช้แนวคิดการสืบสอบที่มีการแนะแนวทางสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในห้องเรียนที่ใช้การเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสืบสอบแบบแนะแนวทางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 132 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการประเมินทักษะปฏิบัติการเคมี โดยใช้แนวคิดการสืบสอบที่มีการแนะแนวทางสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การตั้งสมมติฐานหรือปัญหาใน
การทดลอง 2. การวางแผนการทดลอง 3. การสำรวจและเก็บข้อมูล 4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 5. การสร้างข้อสรุป 6. การประเมินและสะท้อนความคิด และ 7. การขยายความรู้ 2) องค์ประกอบในการประเมินทักษะปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคนิควิธีการทดลอง ด้าน กระบวนการทดลอง ด้านความคล่องในการปฏิบัติงาน และด้านความเป็นระเบียบในการทำงาน 3) มีความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน อยู่ระหว่าง 0.863 – 0.927 4) มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน มีสัมพันธ์กันสูงที่ระดับนัยสำคัญที่ .01

The purposes of this research were 1) to develop chemical laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach for secondary school students; 2) to develop instrument of chemical laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach for secondary school students; and
3) to validate the quality of chemical laboratory skills assessment process using guide-inquiry approach for secondary school students. Participants were 132 eighth grade students in secondary educational service area.

             The research findings were as follows: 1) six steps of  chemical laboratory skills assessment process using  guide-inquiry approach for secondary school students were  problem, planning, survey and collect data, analysis and synthesis, reach conclusion, evaluation and reflection, and applying;
2) four factors of  science laboratory skills assessment were Experimental techniques, procedure, dexterity and Neatness; 3) internal consistency reliability instruments of chemical laboratory skills assessment process using  guide-inquiry approach for secondary school students were 0.863 – 0.927; and 4) there was a significant at .01 level on consequences from Pearson product moment correlation coefficient of inter-rater 

Author Biographies

นรีรักษ์ ทองสะอาด

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิริเดช สุชีวะ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-24

How to Cite

ทองสะอาด น., & สุชีวะ ศ. (2017). การพัฒนากระบวนการประเมินทักษะปฏิบัติการเคมี โดยใช้แนวคิดการสืบสอบที่มีการแนะแนวทางสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น A DEVELOPMENT OF CHEMICAL LABORATORY SKILLS ASSESSMENT PROCESS USING GUIDE-INQUIRY APPROACH FOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS. An Online Journal of Education, 11(4), 80–92. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84452