การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร A STUDY ON THE STATE AND PROBLEMS OF SCHOOL CURRICULUM ADMINISTRATION PURSUANT TO....

Authors

  • ศราวุฒิ ญาณะคำ
  • ปัญญา อัครพุทธพงศ์

Keywords:

การบริหารหลักสูตร, นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”, CURRICULUM ADMINISTRATION, THE “MODERATE CLASS, MORE KNOWLEDGE” POLICY

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามนโยบาย
“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร ประชากร คือ
โรงเรียนเทพศิรินทร์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร พบว่า โรงเรียนมีการศึกษาวิเคราะห์เอกสารการบริหารจัดการเวลาเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของกระทรวงศึกษาธิการ มีการจัดบริการเอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรให้แก่บุคลากร มีการพิจารณาความเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียนในการจัดครูเข้าสอน มีการจัดตารางสอน โดยจัดให้รายวิชาที่เน้นวิชาการไว้ช่วงเช้า และรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติไว้ช่วงบ่าย โดยไม่มีการกำหนดรายวิชาหรือ
กิจกรรมพิเศษเพิ่มเติม มีการจัดแผนการเรียนเป็นรายสัปดาห์ โดยดำเนินการจัดให้คณะกรรมการผู้รับผิดชอบประชุมร่วมกับครู มีการดำเนินการสำรวจความต้องการการใช้สื่อและวัสดุอุปกรณ์จากครูผู้สอน มีการดำเนินการสำรวจสภาพอาคารเรียน ห้องเรียนก่อนทำการสอน มีการจัดประชุมเพื่อหาแนวทางการดำเนินการนิเทศติดตามและประเมินผล
การใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้กิจกรรมการนิเทศ คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ ใช้เครื่องมือการนิเทศจากหน่วยงานต้นสังกัดและมีการดำเนินการประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยการประชุมชี้แจงให้คณะครูทราบ สำหรับปัญหาการบริหารหลักสูตรหลักสูตรสถานศึกษาตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” พบว่า ปัญหาหลัก คือการเตรียมครูผู้สอน รองลงมา คือการศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรต่าง ๆ และการจัดครูเข้าสอน ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่
ไม่พบปัญหาในด้านการดำเนินการนิเทศติดตามและประเมินผล และการประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษา

The purpose of this study was to study the state and problems of school curriculum administration pursuant to the “MODERATE CLASS, MORE KNOWLEDGE” policy in the middle school Levels of DEBSIRIN SCHOOL, Bangkok. The population was the school. The total informants comprised 19 persons, i.e. the school principals. The gathered data instrument for this study was the structured interview, Data analysis by frequency distribution, percentage calculation and content analysis.

The research result found that the school studied and analyzed the documents relevant to the management of the time to learn pursuant to the “MODERATE CLASS, MORE KNOWLEDGE” policy, consideration of suitability to the teacher schedule management rules prescription of the school contexts. They had the schedule management by arranging the technical subjects for the morning period and practical subjects for the afternoon period without special or additional subjects, surveying of requirements to material and instructional media usabilities from teachers, surveying of building states before the teaching begins, arranging the meeting to find the ways to the supervision and evaluation of applying the school curriculum and arranging curriculum public relations with explanation meetings for teachers. Most of the informants found that the main problem was teacher preparation and the lesser problems were the studying of curriculum supporting documents

Author Biographies

ศราวุฒิ ญาณะคำ

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัญญา อัครพุทธพงศ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

How to Cite

ญาณะคำ ศ., & อัครพุทธพงศ์ ป. (2018). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร A STUDY ON THE STATE AND PROBLEMS OF SCHOOL CURRICULUM ADMINISTRATION PURSUANT TO. An Online Journal of Education, 11(4), 117–128. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84472