การศึกษาระดับความรักชาติของนักเรียนและสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ A STUDY OF STUDENTS’ PATRIOTISM AND STATE OF INSTRUCTION IN HISTORY SUBJECT
Keywords:
ความรักชาติ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, วิชาประวัติศาสตร์, PATRIOTISM, SECONDARY STUDENTS, HISTORY SUBJECTAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรักชาติของนักเรียน (2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในห้องเรียน ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 692 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage stratified random sampling) ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.880-0.881 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนมีความรักชาติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยความรักชาติแบบหลงใหล และ
ความรักชาติเชิงสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมา คือ ความรักชาติเชิงสัญลักษณ์ เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.58 ถึง 0.62 (2) นักเรียนมีระดับการรับรู้การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.62 ถึง 0.74
The purposes of this research were (1) to investigate the level of students’ patriotism, and (2) to study the instructional organization of the history subject in the classroom context. In order to conduct this research, 692 secondary school students in provincial area in Bangkok were chosen. The multi-stage stratified random sampling method was used as a sampling technique. The data collecting instruments were the Students’ Patriotism and Instruction in History Subject questionnaires with the reliability coefficients ranging between 0.88 and 0.88. The data were analyzed using descriptive statistics.
The research findings were as follows: (1) There was a high level of patriotism among the students; blind patriotism, constructive patriotism and symbolic patriotism received a high level (M = 4.09, SD = 0.06; M = 4.09, SD = 0.62 and M = 4.04, SD = 0.58). (2) There was a high level of perception in the history subject in the students (M = 3.61, SD = 0.58); media, learning sources and activities in classroom were received a high level (M = 3.82, SD = 0.64 and M = 3.74, SD = 0.71). Measurement and evaluation were received a medium level (M = 3.28, SD = 0.62).