การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา กับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี AN ANALYSIS OF A CAUSE AND EFFECT MODEL OF UNDERGRADUATE STUDENT-ADVISOR INTERACTION
Keywords:
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา, แรงจูงใจในการเรียน, ความสำเร็จในการเรียน, คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา, UNDERGRADUATE STUDENT-ADVISOR INTERACTION, ACADEMIC MOTIVATION, SUCCESS IN LEARNING, CHARACTERISTICS OF FACULTY MEMBERAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสาเหตุ (causal research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบ
ความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 759 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.780 ถึง 0.945 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL)
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุและผลของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา
ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก Chi-square = 28.519, df = 23, p = 0.197, GFI = 0.995, AGFI = 0.980, RMR = 0.014, RMSEA = 0.017 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา คือ คุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษา (DE = 0.863) และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรแรงจูงใจในการเรียน และตัวแปรแรงจูงใจมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรความสำเร็จในการเรียน (DE = 0.559, 0.928 ตามลำดับ) นอกจากนี้ตัวแปรความสำเร็จในการเรียนได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากตัวแปรการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษาผ่านตัวแปรแรงจูงใจในการเรียน (IE = 0.519) ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการเรียน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา และแรงจูงใจในการเรียน ได้ร้อยละ 97.6, 77.5 และ 18.4 ตามลำดับ
This research is a causal research. The purposes of this research were to develop and examine the appropriate fit of a cause and effect model of undergraduate student-advisor interaction. The research sample consisted of 759 undergraduate students selected by the multi-stage random sampling method. The data were collected through a questionnaire. The content validity ranged between
0.580 – 1.000 and the reliability ranged between 0.824 – 0.956. The data were analyzed by descriptive statistics and SEM (Structural Equation Model) by LISREL analysis.
The results revealed that the cause and effect model of undergraduate student-advisor interaction fit the empirical data (Chi-Square = 28.04, df = 21, p-value = 0.139, GFI = 0.993, AGFI = 0.981, RMR = 0.007, RMSEA = 0.021). The factor affecting undergraduate student-advisor interaction was recognition of characteristics of advisors with a direct effect of 0.863. Additionally, the results of undergraduate student-advisor interaction had a direct effect on academic motivation, and an indirect effect on success in learning via academic motivation (direct effect = 0.559, indirect effect = 0.519) with a statistically significant level of 0.05. The variables in the model explained the variance of 97.6%, 77.5% and 18.4% success rates in learning, undergraduate student-advisor interaction, and academic motivation, respectively.