ความเสี่ยงด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนสมฤทัยวิทยาลำปาง RISK IN HUMAN RESOURCE MANAGEMENT OF SOMRUETHAI WITTAYA LAMPANG
Keywords:
การบริหารความเสี่ยง, ทรัพยากรมนุษย์, โรงเรียนเอกชน, RISK MANAGEMENT, HUMAN RESOURCE, PRIVATE SCHOOLAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนสมฤทัยวิทยาลำปาง ตามกรอบแนวคิดของประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร (2557) คือ 1) ความเสี่ยงด้านการสรรหา คัดเลือก 2) ความเสี่ยงด้านการรักษาบุคลากร 3) ความเสี่ยงด้านการพัฒนาบุคลากร 4) ความเสี่ยงด้านการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ งานวิจัยนี้ประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียน กรรมการบริหารความเสี่ยง และบุคลากรครูภายในโรงเรียนสมฤทัยวิทยาลำปาง จำนวนรวม 40 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความเสี่ยงที่พิจารณาจาก 2 มิติ คือ 1) โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และ 2) ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เป็นแบบตอบสนองคู่ (Duel-response format) แบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงจากผลคูณของโอกาสที่จะเกิดและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเสี่ยงด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนสมฤทัยวิทยาลำปางในภาพรวมนั้นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาระดับความเสี่ยงรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่สุด คือ ด้านการรักษาบุคลากร (Degree of Risk = 12.61) รองลงมาคือ ด้านการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ (Degree of Risk = 10.89) ด้านการพัฒนาบุคลากร (Degree of Risk = 10.74) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีระดับความเสี่ยงต่ำที่สุด คือ การสรรหา คัดเลือก (Degree of Risk = 9.83)
This study is a descriptive research that aims to examine the degree of risk in human resource management at Somruethai Wittaya School Lampang. The conceptual frame of this research is based on Prandhaprangkul Prakal (2014), which portrayed 4 risks in human resource management, which are risk in recruitment and selection, risk in retention, risk in training and development and risk in compensation and benefit management. The research informants consisted of 2 administrators, 5 committee members of risk management, and 33 teachers, for a total of 40 informants. The research instrument used in this study was a questionaire of HR risk, which was considered in 2 aspects; 1) Likelihood and 2) Impact designed as a 5-level scaled questionaire with a dual-response format. SPSS was used for data analysis. The analytical statics used in this study were frequency, percentage, mean, standard deviation and product of likelihood and impact of risks.
The findings indicated that the degree of risk in human resource management of Somruethai Wittaya Lampang in general was found at an average level. Risk in retention (Degree of Risk = 12.61) was regarded as the highest risk, followed by risk in compensation and benefits management (Degree of Risk = 10.89), risk in training and development (Degree of Risk = 10.74) and risk in recruitment and selection (Degree of Risk = 9.83) respectively.