อิทธิพลของรูปแบบข้อสอบที่มีต่อความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางพิซ่า: การประยุกต์ใช้การตรวจสอบอิทธิพลของวิธีการวัดด้วยเทคนิคซีทีซียูและเทคนิคซีทีซีเอ็ม EFFECTS OF ITEM FORMATS ON CONSTRUCT VALIDITY OF PISA-LIKED....

Authors

  • วรัญญู ฉายาบรรณ์
  • ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง

Keywords:

อิทธิพลของวิธีการวัด, เทคนิคซีทีซียู, เทคนิคซีทีซีเอ็ม, METHOD EFFECT, CTCU TECHNIQUE, CTCM TECHNIQUE

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของโมเดลการวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์แบบทั่วไป (โมเดลแบบ GENE) โมเดลแบบ CTCU และโมเดลแบบ CTCM และ 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของรูปแบบข้อสอบที่มีต่อความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลแบบ GENE เมื่อเทียบกับโมเดลแบบ CTCU และโมเดลแบบ CTCM กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 549 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ตามแนวทาง PISA จำนวน 3 ฉบับ โดยแบบวัดทั้ง 3 ฉบับใช้ข้อคำถามที่เหมือนกัน แต่ต่างกันที่รูปแบบข้อสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โมเดลแบบ GENE ที่ปรับแล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โมเดลแบบ CTCU ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และโมเดลแบบ CTCM ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) การเปรียบเทียบระหว่างโมเดลแบบ GENE กับโมเดลแบบ CTCU พบว่า โมเดลแบบ CTCU สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลแบบ GENE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และขนาดความสัมพันธ์ของความคลาดเคลื่อนที่มาจากการใช้รูปแบบข้อสอบเดียวกันทั้งหมดมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ แสดงว่าไม่เกิดอิทธิพลของวิธีการวัดอันเป็นผลมาจากรูปแบบข้อสอบ การเปรียบเทียบระหว่างโมเดลแบบ GENE กับโมเดลแบบ CTCM พบว่า โมเดลแบบ CTCM สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลแบบ GENE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากรูปแบบข้อสอบมีค่าต่ำกว่าน้ำหนักองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ แสดงว่าไม่เกิดอิทธิพลของวิธีการวัดอันเป็นผลมาจากรูปแบบข้อสอบ

The purposes of this research were 1) to investigate fit indices (included ²/df, GFI, AGFI, CFI, RFI SRMR and RMSEA) of The general measurement model of mathematical competencies (GENE model), CTCU model, and CTCM model. 2) to analyze effects of item formats on construct validity of all measurement models (GENE model, CTCU model, and CTCM model). The research sample consisted of 549 students in grade-9. The research instruments were the 3 Pisa-liked tests of mathematical competencies which each items of test used the identical question, but used different answer formats. Data were analyzed by confirmatory factor analysis. The research findings were as follows: 1) The adjusted GENE model was fit to the empirical data. The CTCU model was not fit to the empirical, and The CTCM model was not fit to the empirical data. 2) Comparison between GENE model and CTCU model found that CTCU model was fit to the empirical data more than GENE model at the .01 significant level, and all of correlations of error term form identical item formats were less than factor loadings of mathematical competencies. It showed that effects of item formats were not occurred. Comparison between GENE model and CTCM model found that CTCM model was fit to the empirical data more than GENE model at the .01 significant level, and all factor loadings of item formats less than factor loadings of mathematical competencies. It showed that effects of item format were not occurred.

Author Biographies

วรัญญู ฉายาบรรณ์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-26

How to Cite

ฉายาบรรณ์ ว., & หลาวทอง ณ. (2017). อิทธิพลของรูปแบบข้อสอบที่มีต่อความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางพิซ่า: การประยุกต์ใช้การตรวจสอบอิทธิพลของวิธีการวัดด้วยเทคนิคซีทีซียูและเทคนิคซีทีซีเอ็ม EFFECTS OF ITEM FORMATS ON CONSTRUCT VALIDITY OF PISA-LIKED. An Online Journal of Education, 11(4), 356–373. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84745