การศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนแบบ STEM ในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี A STUDY OF INSTRUCTIONAL SUPERVISION NEEDS OF TEACHERS TEACHING STEM IN THE PROJECT OF KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY...

Authors

  • สุพรรณี หมุนรอด
  • จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Keywords:

ความต้องการ, การนิเทศการสอน, ครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนแบบ STEM, NEEDS, INSTRUCTIONAL, TEACHERS TEACHING STEM

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนแบบ STEM ในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประชากรที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนแบบ STEM ในโครงการของมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ปีการศึกษา 2558 จากโรงเรียน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดพุทธบูชา โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม โรงเรียนแจงร้อนวิทยา โรงเรียนนาหลวง โรงเรียนวัดราชโอรส และโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนแบบ STEM ในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีความต้องการการนิเทศการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความต้องการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวัดผลและประเมินผล เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความต้องการเป็นอันดับแรกคือ การออกแบบเครื่องมือการวัดที่ถูกต้องและเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM เช่น การออกแบบทดสอบที่สร้างสถานการณ์ให้นักเรียนตอบ รองลงมาคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความต้องการเป็นอันดับแรกคือ การวางแผนเพื่อใช้สื่อให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนแบบ STEM และความต้องการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการเตรียมการสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความต้องการเป็นอันดับแรกคือ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของ STEM

The purpose of this research was to study the instructional supervision needs of teachers teaching STEM in the project of King Mongkut's University of Technology Thonburi. The population were 45 of the teachers teaching STEM in the project of King Mongkut's University of Technology Thonburi 6 schools of Wat Phutthabucha School, Bangpakokwitthayakom School, Chaengronwitthaya School, Naluang School, Watrajaoros School, and RajPracha Samasai School Under The Royal Patroange Of His Majesty The King. Data was collected via questionnaire; the first edition analyzes the data using statistical analysis of the data by frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.

The results showed that STEM teachers in the project of King Mongkut's University of Technology Thonburi have instructional supervision needs. The overall high level. Considering each side Found that the demand side is the first that measurement and evaluation. It was found that the first demand is met, which is the need for instruments designed for correctly and appropriately measuring for learning and teaching for in the STEM Program. For example, simulation tests are designed for students to answer. The second demand is instruction media. In conclusion, when considered by the priority, the most important is planning to use instruction media that is suitable for STEM program, and the final ranking is teaching preparation of lesson plans of STEM program.

Author Biographies

สุพรรณี หมุนรอด

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-27

How to Cite

หมุนรอด ส., & สุดรุ่ง จ. (2017). การศึกษาความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนแบบ STEM ในโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี A STUDY OF INSTRUCTIONAL SUPERVISION NEEDS OF TEACHERS TEACHING STEM IN THE PROJECT OF KING MONGKUT’S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY. An Online Journal of Education, 11(4), 93–105. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84942