ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะและศักยภาพของทีมที่มีต่อผลการดำเนินงานของทีม: การประยุกต์ใช้โมเดลแบบมีการส่งผ่านในมหาวิทยาลัย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำผ่านคุณลักษณะของทีมและศักยภาพของทีมที่มีต่อผลการดำเนินงานของทีม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความตรงของโมเดลผลการดำเนินงานของทีมระหว่างโมเดลที่มีการวัดภาวะผู้นำแบบเต็มรูปและการวัดภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพด้านเดียว และ 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของกระบวนการทำงานของทีม(หลักสูตร)ที่มีผลการดำเนินงานสูง ปานกลาง และต่ำและ 4) เพื่อประมวลสรุปสาระสำคัญจากผลการวิจัยมากำหนดแนวนโยบายสำหรับการบริหารการศึกษาระดับสถาบันอุดมศึกษาและระดับกระทรวง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,630 คน เป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรในในมหาวิทยาลัยราชภัฏรวม 326 ทีม จาก 39 มหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง .750-.975 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์การถดถอยพหุนามด้วยโปรแกรม SPSS for Window 15 และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลโปรแกรม LISREL 8.72
ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1) การตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลของภาวะผู้นำแบบเต็มรูป (ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และภาวะผู้นำแบบยอมตามหรือปล่อยตามสบาย) ผ่านตัวแปรคุณลักษณะของทีม ศักยภาพของทีมที่มีต่อผลการดำเนินงานของทีม พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2 = 176.21 ; df = 269 ; p = 1.000 ; GFI = .958 ; AGFI = .950 ; RMR = .021) ตัวแปรในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรผลการดำเนินงานของทีมได้ร้อยละ 95.50 2) โมเดลหลักเป็นโมเดลที่มีความตรงมากกว่าโมเดลทางเลือก 3) ทีม (หลักสูตร) ที่มีผลการดำเนินงานต่างกันจะมีหลักในการทำงานและการสนับสนุนการทำงานแตกต่างกัน และ 4) ผลการวิจัยนำไปสรุปได้แนวนโยบายสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา 4 ข้อ
ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1) การตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลของภาวะผู้นำแบบเต็มรูป (ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน และภาวะผู้นำแบบยอมตามหรือปล่อยตามสบาย) ผ่านตัวแปรคุณลักษณะของทีม ศักยภาพของทีมที่มีต่อผลการดำเนินงานของทีม พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2 = 176.21 ; df = 269 ; p = 1.000 ; GFI = .958 ; AGFI = .950 ; RMR = .021) ตัวแปรในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรผลการดำเนินงานของทีมได้ร้อยละ 95.50 2) โมเดลหลักเป็นโมเดลที่มีความตรงมากกว่าโมเดลทางเลือก 3) ทีม (หลักสูตร) ที่มีผลการดำเนินงานต่างกันจะมีหลักในการทำงานและการสนับสนุนการทำงานแตกต่างกัน และ 4) ผลการวิจัยนำไปสรุปได้แนวนโยบายสำหรับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา 4 ข้อ
Article Details
Issue
Section
Research Article