จรรยาบรรณในการตีพิมพ์
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
- ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์กับวารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทาไม่เคยได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว
- ผู้เขียนบทความต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ คัดลอกบทความ หรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนโดยไม่มีการอ้างอิง หากมีการกล่าวถึงผลงานของผู้อื่น ผู้เขียนบทความต้องอ้างอิงอย่างชัดเจนทั้งในบทความและรายการอ้างอิง และบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ต้องผ่านการตรวจด้วยระบบการตรวจความซ้ำของงานวิชาการที่เชื่อถือได้ หากตรวจพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ คัดลอกบทความ หรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนโดยไม่มีการอ้างอิงหรือมีการทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน อันเป็นการโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว
- ผู้เขียนบทความต้องมั่นใจว่าบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์เป็นผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งตามข้อเท็จจริงโดยปราศจากการบิดเบือน และข้อมูลผลงานนั้น ๆ ต้องพิสูจน์ได้ ไม่เป็นเท็จ
- ผู้เขียนบทความต้องปรับแก้บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ให้เป็นไปตามรูปแบบการจัดพิมพ์และการอ้างอิงแหล่งข้อมูลตามที่วารสารกำหนด
- ผู้เขียนบทความต้องปรับแก้บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ตามคำแนะนำหรือตามการประเมินบทความจากผู้ประเมินบทความ หากไม่ปรับแก้ตามคำแนะนำและตามเวลาที่กำหนด วารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทาขอสงวนสิทธิ์ไม่ตอบรับบทความของท่านมาตีพิมพ์และไม่คืนค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ทุกกรณี
- บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีที่เป็นบทความวิจัยต้องมีเนื้อหาไม่ซ้ำหรือเหมือนกับงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ
- ผู้เขียนบทความต้องระบุแหล่งที่มาของทุนการสนับสนุนบทความหรือทุนสนับสนุนการวิจัยให้ชัดเจน (ถ้ามี)
- ผู้เขียนบทความต้องยินยอมให้บทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทาและไม่นำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งอื่น ๆ
- เนื้อหาทั้งหมดในบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการมีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารงานวารสารให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารวิชาการไทย (TCI) กำหนด
- บรรณาธิการต้องมีจรรยาบรรณ ใช้วิจารณญาณทางวิชาการพิจารณาบทความโดยปราศจากอคติ และต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์ซ้ำซ้อนกับผู้เขียนบทความ
- บรรณาธิการต้องยอมรับผลการประเมินบทความจากผู้ประเมิน โดยไม่แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนข้อความให้เป็นอย่างอื่นนอกเหนือที่ผู้ประเมินบทความแนะนำ
- บรรณาธิการต้องไม่ใช้อำนาจหรือหน้าที่ครอบงำผู้ประเมินบทความให้ประเมินบทความตามที่ตนเองต้องการ
- บรรณาธิการไม่ควรตอบรับบทความที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประเมินจากผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความอย่างจริงจังโดยใช้ระบบการตรวจความซ้ำที่เชื่อถือได้เพื่อให้แน่ใจว่าบทความหรือผลงานที่นำมาตีพิมพ์นั้นมิได้คัดลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้าง
- บรรณาธิการต้องยุติกระบวนการประเมินบทความหากตรวจพบว่ามีการคัดลอกผลงานผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง และต้องแจ้งให้เจ้าของบทความทราบทันที หากเจ้าของบทความไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำบรรณาธิการสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์ทันที
- บรรณาธิการต้องสรรหาผู้ประเมินบทความที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญตรงกับบทความเรื่องนั้น ๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความพึงตระหนักถึงคุณภาพของบทความเป็นหลัก โดยยึดหลักวิชาการอย่างเคร่งครัดและตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และต้องประเมินบทความให้เป็นตามรูปแบบการประเมินของวารสารโดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น
- ผู้ประเมินบทความต้องมีจรรยาบรรณ ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลการประเมินบทความแก่ส่วนงานอื่นหรือบุคคลอื่น ๆ
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดที่ตนเองประเมินมาเป็นผลงานของตนเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของบทความหรือจากวารสาร
- ผู้ประเมินบทความต้องมีความรู้ความเข้าใจและเชี่ยวชาญในเนื้อหาของผลงานที่ตนเองประเมิน ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สอดคล้องกัน ผู้ประเมินสามารถปฏิเสธประเมินบทความเรื่องนั้น โดยแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
- ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งบรรณาธิการทราบทันที หากพบเนื้อหาในบทความที่ตนเองประเมินมีความซ้ำซ้อนหรือเหมือนกับผลงานของผู้อื่น
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความตามแบบประเมินอย่างเคร่งครัด ถ้ามีข้อสังเกต หรือมีประเด็นที่ต้องชี้แนะนอกเหนือจากแบบประเมินสามารถเสนอเพิ่มเติมได้โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียกับเจ้าของบทความนั้น ๆ หากบรรณาธิการทราบในภายหลังจะขอยกเลิกผลการประเมินนั้นทันที และสงวนสิทธิ์ที่จะไม่ส่งบทความให้ประเมินในครั้งต่อไป
- ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความตามระยะเวลาที่วารสารกำหนดและต้องส่งบทความที่ประเมินแล้วเสร็จให้กับวารสารภายในไม่